วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทำวัตรเย็น


ทำวัตรเย็น
(คำบูชาพระ และปุพพภาคนมการใช้อย่างเดียวกับทำวัตรเช้า)
๑.พุทธานุสสติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
ตัง โข ปะนะ ภะตะวันตัง เอวัง กัลป์ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,         
ก็กิตติศัพทย์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า,
อิติปิโส ภะคะวา,        
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
อะระหัง,      เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทโธ,   
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
วิชชาจะระณะสัมปันโน,   
เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ,
สุคะโต,        เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
โลกะวิทู,      เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,       
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สม ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
สัตถาเทวะมะสุสสานัง,       
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
พุทโธ,          เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,  
ภะคะวาติฯ   เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.



๒.พุทธาภิคีติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เสฯ
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
พุทธวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,  
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณมีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ, เป็นต้น,
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
       มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์,
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
       พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ผู้ไม่มีกิเลส, พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า,
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะ มุตตะมัง,
       พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า,
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (หญิงว่า ทาสี) วะพุทโธ เม สามิกิสสะโร,
       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
       พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัฐชีวิตัญจิทัง,
       ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แต่พระพุทธเจ้า,
วันทันโตหัง (หญิงว่า วันทันตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
   ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตามซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
       สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
       ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (หญิงว่า วันทะมานายะ) ยัง ปุญญังปะสุตัง อิธะ,
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น,                         (กราบขอขมา)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
       ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
       กรรมนาติเตียนอันใด, ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
       ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ,
       เพื่อการสำรวมระวังในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.


๓.ธัมมานุสสติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
   พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
สันทิฏฐิโก,            เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติถึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
อะกาลิโก,          เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
เอหิปัสสิโก,        เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,
โอปะนะยิโก,       เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ,   เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.


๔.ธัมมาภิคีติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)สวากขาตะตาทิคุณะโยคะ วะเสนะเสยโย,
       พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น.
โย มัคคะ ปากะ ปะริยัตติวิโมก ขะเภโท
       เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรคผล ปริยัติและนิพพาน,
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
       เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรมจากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว,
วันทะมะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะ เมตัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้นอันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด,
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
       พระธรรมใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตังสิเรนะหัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า,
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (หญิงว่า ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
       พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมี สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
       ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม
วันทันโตหัง (หญิงว่า วันทันตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
        สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยังสัตถุ สาสะเน,
       ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (หญิงว่า วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
       อันตรายทั้งปวงอย่าได้แก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(กราบขอขมา)
กาเยนะ วาจะยะ วะ เจตะสา วา,
       ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
        กรรมน่าติเตียนอันใด, ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม,
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
       ขอพระธรรมจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม,
เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรม ในกาลต่อไป.


๕.สังฆานุสสติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง สังฆานุสติ กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,
ยะทิทัง,       ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะ ปุคคะลา
       คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อาหุเนยโย,                 เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา;
ปาหุเนยโย,              เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย,             เป็นผู้ควรรับทักษิณทาน,
อัญชะลีกะระณีโย,     เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,
อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ,
       เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า, ดังนี้


๖.สังฆาภิคีติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)  หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)        สัทธัมมะโช สุปะฎิปัตติคุณาทิยุตโต,
       พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรมประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น,
โยฏิฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏ โฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก,
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
       มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีล เป็นต้น อันบวร,
วันทามะหัง ตะมะริยานะ คะณังสุ สุท ธัง,
       ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี,
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
       พระสงฆ์หมู่ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย;
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตังสิเรนะหัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า,
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (หญิงว่า ทาสี) วะสังโฆ เม สามิกิสสะโร,
       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตาจะ หัตัสสะ เม,
       พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์ข้าพเจ้า,
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมี สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
       ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์;
วันทันโตหัง (หญิงว่า วันทันตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
       สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
       ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (หญิงว่า วันทะมานายะ) ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งประสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
       อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(กราบขอขมา)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
       ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,
สัมเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
       กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
       ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะสังเฆ,
       เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป.
(จบคำทำวัตรเย็น)
นมัสการ พระอรหันต์ ๘ ทิศ
(นำ) หันทะมะยัง สะระภัญเญนะ พุทธะมังคะละคาถาโย ภะณามะ เสฯ
(รับ) สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฎโฐ    นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
      โกณฑัญโญ ปุพพะภาเคจะ อาคะเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะทักขิเณ        หะระติเย  อุปาลี จะ
      ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท        พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
      โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร   อีสาเนปิ จะราหุโล
      อิเม โข มังคะลา พุทธา            สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
      วันทิตา เต จะ อัมเหหิ        สักกาเรหิ จะปูชิตา
      เอเตสัง อานุภาเวนะ         สัพพะโสตถี ภะวันตะโนฯ
      อิจเจะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
      นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
      ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถุง
      ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ



บทสวดมนต์แปล อดีตปัจจเวกขณปาฐะ
หันทะ มะยัง อะตีตะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เสฯ

ข้อว่าด้วยจีวร
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง,
       จีวรใดอันเรานุ่งห่มแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,
ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
       จีวรนั้นอันเรานุ่งห่มแล้ว เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,
อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
       เพื่อบำบัดความร้อน,
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปฏิฆาตายะ
       เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์ เลื้อย-คลานทั้งหลาย,
ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถังฯ
       และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ อันให้เกิดความละอาย.



ข้อว่าด้วยบิณฑบาต
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตโต,
       บิณฑบาตใด  อันเราฉันแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,
โส เนวะ ทะวายะ,
       บิณฑบาตนั้นเราฉันแล้ว ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน,
นะ มะทายะ, ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย
นะมัณฑะนายะ,         ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ,
นะ วิภูสะนายะ,          ไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง,
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,
       แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,
ยาปะนายะ,              เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,
วิหิงสุปะระติยา,         เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำยากทางกาย,
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ,
       เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,
       ด้วยการทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือ ความหิว,
นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,
       และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,
ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติฯ
       อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หา โทษมิได้ด้วย, และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เราดังนี้

ข้อว่าด้วยเสนานะ
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง,
       เสนาสนะใด อันเราใช้สอยแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,
ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
       เสนาสนะนั้น เราใช้สอยแล้ว เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,
อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,     เพื่อบำบัดความร้อน,
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
       เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อย คลานทั้งหลาย,
ยะวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฎิจฉาทะนัตถังฯ
       เพียงเพื่อบรรเท่าอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ, และ เพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา.


ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะ ริกยาโร ปะริภุตโต,
       คิลานเภสัชบริขารใด อันเราบริโภคแล้วไม่ทันพิจารณาในวันนี้
โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,
       คิลานเภสัชบริขารนั้น เราบริโภคแล้ว เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนา อันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่างๆ เป็นมูล,
อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติฯ
       เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง, ดังนี้.


ท้ายกรณียเมตตสูตร
       เมตตัญจะ สัพพะโสกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ จะติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง นิสินโนวา สะยาโนวา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ เอตัง สติง อะธิฏ เฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฎฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนเนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
อเปตยัญจักขุมา
       อะเปตะยัญจักบุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิป ปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง เย พราหมาะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวาโมโร วาสะมะกัปปะยีติฯ


คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์
หันทะ มะยัง พุทธะปะสังสาคาถางโย พุทธะสิหงโคนามะ ภะณามะ เส
(รับ) อิติ ปะวาระสิหิงโค           อุตตะมะยะโสปิ เตโช
      ยัตถุ กัตถะ จิตโตโส         สักกาโร อุปาโท
      สกาละพุทธะสาสะนัง        โชตะยันโตวะ ทีโป
      สุระนะเรหิมะหิโต             ธะระมาโนวะ พุทธธติ
            พุทธสิหิงคา                อุบัติมา ณ แดนใด
ประเสริฐ ธ เกริกไกร          ดุจกายพระศาสดา
เป็นที่เคารพน้อม                มนุษย์พร้อมทั้งเทวา
เปรียบเช่นชวาลา              ศาสนาที่ยืนยง
เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธ      พระวิสุทธิ์พระชนม์คง
แดนใดพระดำรง               พระศาสน์คงก็จำรูญ
ด้วยเดชสิทธิศักดิ์               ธ พิทักษ์อนุกูล
พระศาสน์บ่มีสูญ                พระเพิ่มพูนมหิทธา
ข้าฯ ขอเคารพน้อม            วจีค้อมขึ้นบูชา
พิทักษ์ ธ รักษา                  พระศาสน์มาตลอดกาล
ปวงข้าฯ จะประกาศ           พุทธศาสน์ให้ไพศาล
ขอพระอภิบาล                   ชินมารนิรันดร์ เทอญฯ











คาถามงคลจักรวาล ๘ ทิศ
สวดทุกคืนเพื่อป้องกันภัยพิบัติต่างๆ
       อิมัสมิง  มงคลจักรวาลทั้งแปดทิศประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้นมาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ  พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อิมังสมิง มงคลจักรวาลทั้งแปดทิศประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้นมาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อิมัสมิง มงคลจักรวาลทั้งแปดทิศประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้นมาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ปัจเจกกะพุทธ ชาละปะริต เขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อิมัสมิง มงคงจักรวาลทั้งแปดทิศประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้นมาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะเสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ สังฆะ ชาละปะริกเขตเต รัก ขันตุ สุรักขันตุฯ


คาถาป้องกันภัยทั้ง ๘ ทิศ
เมื่อท่านสวดทุกวัน  จะป้องกันภัยอันตราย  เกิดโชคลาภ
       บูรพารัสมิง  พระพุทธะคุณัง บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง บูรพารัสมิงพระสังฆานัง  ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย  สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเช สัพพะ ธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อาคเนรัสมิง พระพุทธะคุณัง อาคเนรัสมิง พระธัมเมตัง อาคเนรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะกะวัง วิวัญชัยเย  สัพพะทุกข์ สัพพะโศก  สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะ ธนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะ ธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง หรดี รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง พายัพรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง อุดรรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อีสานรัสมิง พระพุทธะคุณัง อีสานรัสมิง พระธัมเมตัง อีสานรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราระห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อากาสรัสมิง พระพุทธะคุณัง อากาสรัสมิง พระธัมเมตัง อากาสรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะภัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ




บทปลงสังขาร   เกศาผมหงอก
เกศาผมหงอก                 บอกว่าตัวเฒ่า                  ฟันฟางผมเผ้า
แก่แล้วทุกประการ           ตามืดหูหนัก                    ร้ายนักสาธารณ์
บ่ มิเป็นแก่นสาร             ใช่ตัวตนของเรา              แต่พื้นเปื่อยเน่า
เครื่องประดับกายเรา       โสโครกทั้งตัว                  แข้งขามือสั้น
เส้นสายพันพัว                เห็นน่าเกลียดกลัว           อยู่ในตัวของเรา
ให้มึนให้เมื่อย                 ให้เจ็บให้เหนื่อย             ไปทั่วเส้นขน
แก่แล้วโรคา                   เข้ามาหาตน                    ได้ความทุกข์ทน
โสกาอาวรณ์                  จะนั่งก็โอย                      จะลุกก็โอย
เหมือนดอกไม้โรย           ไม่มีเกสร                         แก่แล้วโรคา
เข้ามาวิงวอน                  ได้ความทุกข์ร้อน            ทั่วกายอินทรีย์
ครั้นสิ้นลมปาก                กลับกลายหายจาก          เรียกกันว่าผี
ลูกรักผัวรัก                     เขาชักหน้าหนี                เขาว่าซากผี
เปื่อยเน่าพุพอง                 เขาเสียไม่ได้                   เขาไปเยี่ยมมอง
เขา บ่ ได้ต้อง                  เกลียดกลัวหนักหนา       เขาผูกคอรัด
มือเท้าเขามัด                  รัดรึงตรึงตรา                   เขาหามเอาไป
ทิ้งไว้ป่าช้า                     เขากลับคืนมา                 สู่เหย้าเรือนพลัน
ตนอยู่เอกา                     อยู่กับหมูหมา                   ยื้อคร่าพัลวัน
ทรัพย์สินของตน             ขนมาปันกัน                    ข้าวของทั้งนั้น
ไม่ใช่ของเรา                  เมื่อตนยังอยู่                    เรียกว่าของกู
เดี๋ยวนี้เป็นของเขา          แต่เงินใส่ปาก                  เขายังควักล้วงเอา
ไปแต่ตัวเปล่า                 เน่าทั่วสารพางค์กาย       อยู่ในป่ารก
ได้ยินเสียงนก                 กึกก้องดงยาง                 ได้ยินหมาไน
ร้องไห้ครวญคราง          ใจจิตอ้างว้าง                  วิเวกวังเวง
มีหมู่นกแขวก                 บินมาร้องแรก                 แถกขวัญของตน
เหลียวไม่เห็นใคร           อกใจวังเวง                     ให้อยู่ครื้นเครง
รำพึงถึงตัว                     ตายไปเป็นผี                   เขาไม่ใยดี
ทิ้งไว้น่ากลัว                   ยิ่งคิดยิ่งพลัน                  กายสั่นระรัว
รำพึงถึงตัว                     อยู่ในป่าช้า                    ผัวมิ่งสินทรัพย์
ยิ่งแลยิ่งลับ                     ไม่เห็นตามมา                 เห็นแต่ศีลทาน
เมตตาภาวนา                 ตามเลี้ยงรักษา                อุ่นเนื้ออุ่นใจ
ศีลทานมาช่วย                ได้เพื่อนเป็นม้วย             เมื่อตนตายไป
ตบแต่งสมบัติ                  นพรัตน์โพยภัย               เลิศล้ำอำไพ
อัตตะกิเลสมากมี             ศีลพาไปเกิด                   ได้วิมานเลิศ
ประเสริฐโฉมศรี              นางฟ้าแห่ล้อม                ห้อมล้อมมากมี
ขับกล่อมดีดสี                  ฟังเสียงบรรเลง               บรรเลงสมบัติ
แก้วเก้าเนาวรัตน์            นับน้อยไปหรือ               คุณพระทศพล
ที่ตนนับถือ                     พระธรรมนั้นหรือ            สั่งสอนทุกวัน
พระสงฆ์องค์อารีรัก         มาเป็นปิ่นปัก                  พระกรรมฐาน
เอออวยสมบัติ                 นพรัตน์โอฬาร                ดีกว่าลูกหลาน
ประเสริฐเพริศเพรา         ลูกผัวที่รัก                      บ่ มิเป็นตำหนัก
รักเขาเสียเปล่า               เขาตามมิช่วย                 เพื่อนม้วยด้วยเรา
ไปหลงรักเขา                  เห็นไม่เป็นการ                รักตนดีกว่า
จำศีลภาวนา                   บำเพ็ญศีลทาน               จะได้ช่วยตน
ให้พ้นสงสาร                  ลุถึงสถาน                       ได้วิมานทอง
ผู้ใดใจพาล                    หลงรักลูกหลาน              จะต้องจำจอง
เป็นห่วงตัณหา               เข้ามารับรอง                  ตายไปจะต้อง  ตกจตุราบาย


บทปลงสังขาร
มนุษย์เราเอ๋ย                  เกิดมาทำไม                    นิพพานมีสุข
อยู่ใยมิไป                       ตัณหาหน่วงหนัก            หน่วงชักหน่วงไว้
ฉันไปมิได้                      ตัณหาผูกพัน                  ห่วงนั้นพันผูก
ห่วงลูกห่วงหลาน            ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร     จงสละเสียเถิด
จะได้ไปนิพพาน             ข้ามพ้นภพสาม               ยามสาวหนุ่มน้อย
หน้าตาแช่มช้อย             งามแล้วทุกประการ         แก่เฒ่าหนังยาน
แต่ล้วนเครื่องเหม็น         เอ็นใหญ่เก้าร้อย             เอ็นน้อยเก้าพัน
ขนคิ้วก็ขาว                    นัยน์ตาก็มัว                    เส้นผมบนหัว
ดำแล้วกลับหงอก            หน้าตาเว้าวอก               ดูน่าบัดสี
จะลุกก็โอย                     จะนั่งก็โอย                     เหมือนดอกไม้โรย
ไม่มีเกสร                        จะเข้าที่นอน                   พึงสอนภาวนา
พระอนิจจัง                     พระอนัตตา                    เราท่านเกิดมา
รังแต่จะตาย                   ผู้ดีเข็ญใจ                      ก็ตายเหมือนกัน
เงินทองทั้งนั้น                 มีติดตัวไป                       ตายไปเป็นผี
ลูกเมียผัวรัก                   เขาชักหน้าหนี                เขาเหม็นซากผี
เปื่อยเน่าพุพอง               หมู่ญาติพี่น้อง                 เขาหามเอาไป
เขาวางลงไว้                   เขานั่งร้องไห้                  แล้วกลับคืนมา
อยู่แต่ผู้เดียว                   ป่าไม้ชายเขียว               เหลียวไม่เห็นใคร
เห็นแต่ฝูงแร้ง                 เห็นแต่ฝูงกา                   เห็นแต่ฝูงหมา
ยื้อแย้งกันกิน                  ดูน่าสมเพช                    กระดูกกูเอ๋ย
เรี่ยรายแผ่นดิน               แร้งกาหมากิน                เอาเป็นอาหาร
เที่ยงคืนสงัด                   ตื่นขึ้นมินาน                   ไม่เห็นลูกหลาน
พี่น้องเผ่าพันธุ์                เห็นแต่นกเค้า                 จับเจ่าเรียงกัน
เห็นแต่นกแสก                ร้องแรกแหกขวัญ           เห็นแต่ฝูงผี
ร้องไห้หากัน                  มนุษย์เราเอ๋ย                  อย่าหลงนักเลย
ไม่มีแก่นสาร                   อุตส่าห์ทำบุญ                 ค้ำจุนเอาไว้
จะได้ไปสวรรค์               จะได้ทันพระเจ้า             จะได้เข้านิพพาน
อะหัง วันทามิ สัพพะโส อะหัง วันทามิ นิพพานะปัจจะโย โหตุ
บทปลงสังขารแบบใหม่
โอ้ว่าอนิจจาสังขารเอ๋ย           มาลงเอยสิ้นสุดหยุดเคลื่อนไหว
เมื่อหมดหวังครั้งสุดท้ายไม่หายใจ        ธาตุลม ไฟ น้ำ ดิน ก็สิ้นตาม
นอนตัวแข็งสลดเมื่อหมดชีพ                     เขาตราสังใส่หีบสี่คนหาม
สู่ป่าช้าสิ้นเชื้อเหลือแต่นาม                ใครจะถามเรียกเราก็เปล่าดาย
นี่แหละหนอมนุษย์เรามีเท่านี้          หมดลมแล้วก็ไม่มีซึ่งความหมาย
วิญญาณปราศขาดลับดับจากกาย      หยุดวุ่นวายทุกๆสิ่งนอนนิ่งเอย
เมื่อชีวิตเรานี้มีลมอยู่                              จงเร่งสู้ศีลทานนะท่านเอ๋ย
ทั้งภาวนาทำใจหัดให้เคย                        อย่าละเลยความดีทุกวี่วัน
เมื่อสิ้นลมจิตพรากจากโลกนี้                    จะได้พาความดีไปสวรรค์
อย่าทำบาปน้อยนิดให้ติดพัน       เพราะบาปนั้นจะเป็นเงาตามเราไป
สู่นรกอเวจีที่มืดมิด                                สุดที่ใครตามติดไปช่วยได้
ต้องทนทุกข์สยดสยองในกองไฟ        ตามแต่กรรมของผู้ใดที่ได้ทำ
หมั่นสวดมนต์ภาวนารักษาศีล      สอนลูกหลานให้เคยชินทุกเช้าค่ำ
ให้รู้จักเคารพนบพระธรรม                 อย่าลืมคำที่พระสอนวอนให้ดี
เราเกิดมาเป็นคนได้ทั้งที                    ก็ควรจะสร้างความดีติดตัวไป
เพื่อจะได้เป็นสุขไม่ทุกข์ยาก              ไม่คับแค้นลำบากเมื่อเกิดใหม่
ใครทำดีย่อมสุขแท้จงแน่ใจ            ใครทำชั่วทุกข์ยากไร้ย่อมถึงตน
เร่งบำเพ็ญทานศีลและภาวนา                        แสวงหาแต่สิ่งบุญกุศล
ทรัพย์ภายนอกเป็นของโลกโศกระคน         ทรัพย์ภายในประดับตน
พ้นทุกข์เอย
กรวดน้ำตอนเย็น
อุททิสสนาธิฏฐานคาถา
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เสฯ
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ               ด้วยบุญนี้ อุทิศให้,
อุปัชฌายา คุณิตตะรา             อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ,
อาจาริยูปะการา จะ                  แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา            ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ,
สุริโย จันทิมา ราชา                 สูรย์จันทร์ แลราชา,
คุณะวันตา นะราปิ จะ               ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ,
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ         พรหมมาร และอินทราช,
โลกะปาลา จะ เทวะตา              ทั้งทวยเทพ และโลกบาล,
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ           ยมราช มนุษย์มิตร,
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ               ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ,
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ             ขอให้เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม             บุญผองที่ข้าพเจ้าทำจงช่วย
อำนวยศุภผล,
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ                 ให้สุข สามอย่างล้น,
ขิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง             ให้บรรลุถึง นิพพานพลัน,
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ             ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ,
อิมินา อุททิเสนะ จะ                  และอุทิศให้ปวงสัตว์,
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ               เราพลันได้ ซึ่งการตัด,
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง              ตัวตัณหา  อุปาทาน,
เย สันตาเน หินา ธัมมา             สิ่งชั่ว ในดวงใจ,
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง             กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ             มลายสิ้นจากสันดาน,
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว            ทุก ๆ ภพที่เราเกิด,
อุชุจิตตัง สะติปัญญา                มีจิตตรงและสติทั้งปัญญาอัน
ประเสริฐ,
สัลเลโข วิริยัมหินา                   พร้อมทั้งความเพียรเลิศ,
เป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง               โอกาสอย่าพึงมี แก่หมู่มารสิ้น
ทั้งหลาย,
กาตุญจะ วิริเยสุ เม                   เป็นช่องประทุษร้าย,
ทำลายล้างความเพียรจม,
พุทธาธิปะวะโร นาโถ               พระพุทธเจ้า ผู้บวรนาถ,
ธัมโม นาโก วะรุตตะโม             พระธรรมเป็นที่พึ่งอันอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ            พระปัจเจกะพุทธสมทบ
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง           พระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง,
เตโสตตะมานุภาเวนะ               ด้วยอานุภาพนั้น,
มาโรกาสัง ละภันตุ มา             ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ              ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง,
มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ           อย่าเปิดโอกาสให้แก่มาร(เทอญ)


คำแผ่เมตตาให้ตัวเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ               ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขกายสุขใจ
อะหัง อะเวโร โหมิ             ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้มีเวรกับผู้ใด
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ     ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้เบียดเบียนกับผู้ใด
อะหัง อะนีโฆ โหมิ             ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้มีความทุกข์กาย
ทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ ฯ  ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขกายสุขใจรักษา
ตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.


คำแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
สัพเพ สัตตา   สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย  ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น  เราอุทิศบุญกุศลของเราให้หมดด้วยกัน     อะเวรา    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย                                                                         
อะนีฆา     จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ   จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


คำแผ่เมตตาให้บิดามารดา
       ข้าพเจ้าตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล ถึงบิดามารดาและอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้ เทอญ.


คำแผ่เมตตาให้ยมพบาล
กัมมะโตเมตัง ปะติชีวิตนัง ชีวิตตังจุติ  พุทธัง ชีวิตตัง
       ข้าพเจ้าทำสัตว์ที่มีชีวิตขอให้ไปปฏิสนธิกันเถิด
กัมมะโตเมตัง ปะติชีวิตนัง ชีวิตตังจุติ  ธัมมัง ชีวิตตัง
       ข้าพเจ้าทำสัตว์ที่มีชีวิตขอให้ไปปฏิสนธิกันเถิด
กัมมะโตเมตัง ปะติชีวิตนัง ชีวิตตังจุติ  สังฆัง ชีวิตตัง ฯ
       ข้าพเจ้าทำสัตว์ที่มีชีวิตขอให้ไปปฏิสนธิกันเถิด.


คำขอขมาลาโทษต่อกัน
       กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้สบประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิดด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ต่อหน้ากันก็ดี ลับหลังกันก็ดี ขอจงอโหสิ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อย่าได้มีเวรภัย เกิดชาติหนึ่งภพใดขอให้ได้สร้าง แต่กรรมดี สร้างบารมีของตนให้พ้นภัยพาล ลุล่วงบ่วงมาร ในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้น เทอญ.


คำแผ่เมตตามหาโชคลาภ
       อิติสุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปะถะวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง นาสังสิโม พรัหมา จะ มะหาเทวา สัพเพ ยักขา ปะรายันติ พรัหมา จะ มะหาเทวา อะภิลาภา ภะวันตุ เม มะหาปุญโญ มะหาลาโภ ภะวันตุ เต มิเตภาหุหะติ พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโม วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มามีมามะ พุทธัสสะ สัมปะฎิจฉามิ เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ลือ ลือ รวย รวย ฯ


คำปรารภ
หนังสือสวดมนต์(แปลไทย)คู่มือ อุบาสก-อุบาสิกา ฉบับนี้ได้แปลความหมายจาก บาลีเป็นไทย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้สวดทำวัตรเช้า-เย็น  ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในความหมาย ของบทพุทธมนต์ ที่ทำการสวดนั้น อันจะทำให้ผู้สวด ได้มีศรัทธาปสาทะ เกิดความซาบซึ้ง ในคุณของพระรัตนตรัย อันเป็นสรรพมงคลยิ่ง ทั้งเป็นการเพิ่มพูลบุญบารมี ในการปฏิบัติธรรมได้ครบองค์สามบริบูรณ์ทั้ง กาย วาจา ใจ คือ ตั้งใจ และ “เข้าใจ
หนังสือเล่มนี้ ครอบครัว “ม้าทอง” พร้อมบุตร-ธิดา และคณะอุบาสก-อุบาสิกา วัดท่าทอง ได้จัดสร้างอุทิศให้ คุณพ่อเจริญ-คุณแม่แก้ว ม้าทอง เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เป็นการจัดสร้างครั้งที่ ๑ ปัจจุบันหนังสือได้ชำรุดทรุดโทรม และมีจำนวนไม่พอเพียงกับผู้ปฏิบัติธรรม และสาธุชนที่สนใจใคร่รู้ ดังนั้น พระอาจารย์ บุญชู ฐิตเปโม จึงได้ปรารภกับคณะอุบาสก-อุบาสิกา วัดท่าทอง ในการรวบรวมทุนทรัพย์ จัดสร้างเป็นครั้งที่ ๒
จึงขออนุโมทนาบุญ กับทุกๆท่านที่ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ ในการจัดสร้างครั้งนี้ ให้ได้รับความสุขสวัสดี โดยถ้วนทั่วทุกท่านทุกคน เทอญ. สาธุ อนุโมทนามิ ภะวันตุเม.
สำนักปฏิบัติธรรม สมปรารถนา (พระอ.บุญชู)

                 และ สำนักสักยันต์ นารายณ์สิบทิศ (อ.ฑูรย์)
                                           ผู้ดำเนินงาน     
เผยแผ่เป็นธรรมทานแก่สาธุชนทุกท่านโดยครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน       

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

เพจ Jiraporn Tongkampra

เพจ Jiraporn Tongkampra
แบ่งปันสื่อ ไอเดียสอนลูก ใบงาน ไฟล์แบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้ของลูกน้อย ของเล่นเสริมพัฒนาการ

สำนัก อ.น้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน

สำนัก อ.น้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน
เวบแบ่งปันวิทยาทานและธรรมทาน รวมทั้งสาระหน้ารู้ต่างๆที่ค้นหานำมาแบ่งปัน

ช่องยูทูปครูน้อย

ช่องยูทูปครูน้อย
ติดตามคลิบวีดีโอที่แบ่งปันวิทยาทานและธรรมทานได้อีกช่องทาง