วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

หลักปฏิบัติการบวชเนกขัมมบารมี


ระเบียบการบวชเนกขัมมบารมี
    ทุกคนต้องเตรียมตัวนุ่งขาว ห่มขาว  สไบเฉียง ไว้ให้เรียบร้อยเตรียมธูป เทียน ดอกไม้ เมื่อได้เวลานั่งคุกเข่าประนมมือ ถือดอกไม้ ธูป เทียน ต่อหน้าพระอุปัชฌาย์
๑.ให้ว่าคำกราบพระ                     ๒.ว่าคำบูชาพระ                ๓.ว่าคำขอบวชเนกขัมมบารมี      ๔.ว่าคำอารธนาศีลแปด๕.พระอุปัชฌาย์ให้ศีลแปดจบแล้ว  ให้ถวายดอกไม้ ธูป เทียน แด่พระอุปัชฌาย์ ครั้นแล้วพระอุปัชฌาย์กล่าวบทอนุโมทนาคาถา เป็นเสร็จพิธี
คำขอบวชเนกขัมมบารมี
ชายหญิงบวชพร้อมกันชายหลายคนว่า เอเต หญิงหลายคนว่า เอตา( ถ้าบวชคนเดียว ชาย หญิง ให้ว่า เอสาหัง เหมือนกัน )
   
 มะยัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามะ (คนเดียว มิ) ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ปัพพัชชัง มัง ภันเต สังโฆ ธาเรตุ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง ฯ

คำแปล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จดับขันธปรินิพพานนานแล้ว  กับทั้ง พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้บวชในพระธรรมวินัยผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
คำอารธนาอุโบสถศีล
               มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ                                                               ทุติยัมปิ    มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ                                                              ตะติยัมปิ   มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ                      สาธุ สาธุ    สาธุ
อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สระณัง คะโต ( หญิงว่า คะตา ) อุปา สะ กัตตัง ( หญิงว่า สิ ) เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา เอตังเม สะระณังเขมัง
เอตัง สะระณะมุตตะมัง เอตังสะระณะ มาคำมะ
สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง
สัมมาสัมพุทธะสาสนัง ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ
ภาคี อัส สัง ( หญิงว่า นิส ) อะนาคะเต
ว่ากลับบ้าน
หันทะทานิ มะยังภันเต อาปุจฉามะ พะหุกิจจา มะยังพะหุงกะระณียา
( พระสงฆ์ผู้รับลากล่าวคำว่า ยัสสะทานิ ตุมเหกาลัง มัญญะถะ )
ผู้ลาพึงรับพร้อมกันว่า สาธุ อามะภันเต แล้วกราบพระ ๓ ครั้ง
อาราธนาศีลแปด
        มะยัง ภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ  มะยัง ภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ

ไตรสรณคมน์
พุทธัง  สะระนัง  คัจฉามิ
ธัมมัง  สะระนัง  คัจฉามิ
สังฆัง  สะระนัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง  สะระนัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระนัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระนัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง  สะระนัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระนัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระนัง  คัจฉามิ
( พระท่านว่า  ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ฯ )
( รับว่า )    อามะ ภันเต ฯ
๑. ปาณาติปาตา         เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๒. อะทินนาทานา       เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๓. อะพรัหมะจะริยา    เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๔. มุสาวาทา              เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๕. สุราเมรยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมะณีสิกขาปะทังสะมาทิยามิ
๖. วิกาละโภชะนา      เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา  มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ ฯ  ( ๓ ครั้ง )


        

 บท แสงเทียนส่อง สองพันปี
แสงเทียนส่อง                  สองพันปี  ที่พ่อจุด
ใกล้จะดับ                          สิ้นสุด  ลงแล้วหนา
หากสูเจ้า                   ยังโง่เขลา  เบาปัญญา
อีกไม่ช้า                    เทียนคงดับ  ทับคัมภีร์
แสงธรรมส่อง                         สองพันปี  ที่พ่อจุด
จะไม่ดับ                             สิ้นสุด  ลงหรอกหนา
หากพวกเรา                          มีทาน  ศีล  ภาวนา
ทั่วโลกา                     คงแจ่มแจ้ง  ด้วยแสงธรรม
แสงธรรมส่อง                      สองพันปี  คัมภีร์เปิด
ตื่นเสียเถิด                     ฟังพระธรรม  คำสั่งสอน
พุทธองค์ตรัส                      สรรพสิ่ง  ไม่แน่นอน
ละนิวรณ์                                ภาวนา  ว่าพุทโธ
พุทโธสัพพัญญุตะญาโณ         ธัมโม โลกุตตะโร
สังโฆ มัคคะผะลัฎโฐจะ     อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง
เอเตสะ อานุภาเวนะ        สัพพะทุกขา อุปัททะวา
อันตะรายา จะ นัสสันตุ  สัพพะโสถี ภะวันตุ โน.ฯ




คำปรารภ
หนังสือสวดมนต์(แปลไทย)คู่มือ อุบาสก-อุบาสิกา ฉบับนี้ได้แปลความหมายจาก บาลีเป็นไทย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้สวดทำวัตรเช้า-เย็น  ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในความหมาย ของบทพุทธมนต์ ที่ทำการสวดนั้น อันจะทำให้ผู้สวด ได้มีศรัทธาปสาทะ เกิดความซาบซึ้ง ในคุณของพระรัตนตรัย อันเป็นสรรพมงคลยิ่ง ทั้งเป็นการเพิ่มพูลบุญบารมี ในการปฏิบัติธรรมได้ครบองค์สามบริบูรณ์ทั้ง กาย วาจา ใจ คือ ตั้งใจ และ “เข้าใจ
หนังสือเล่มนี้ ครอบครัว “ม้าทอง” พร้อมบุตร-ธิดา และคณะอุบาสก-อุบาสิกา วัดท่าทอง ได้จัดสร้างอุทิศให้ คุณพ่อเจริญ-คุณแม่แก้ว ม้าทอง เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เป็นการจัดสร้างครั้งที่ ๑ ปัจจุบันหนังสือได้ชำรุดทรุดโทรม และมีจำนวนไม่พอเพียงกับผู้ปฏิบัติธรรม และสาธุชนที่สนใจใคร่รู้ ดังนั้น พระอาจารย์ บุญชู ฐิตเปโม จึงได้ปรารภกับคณะอุบาสก-อุบาสิกา วัดท่าทอง ในการรวบรวมทุนทรัพย์ จัดสร้างเป็นครั้งที่ ๒
จึงขออนุโมทนาบุญ กับทุกๆท่านที่ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ ในการจัดสร้างครั้งนี้ ให้ได้รับความสุขสวัสดี โดยถ้วนทั่วทุกท่านทุกคน เทอญ. สาธุ อนุโมทนามิ ภะวันตุเม.
สำนักปฏิบัติธรรม สมปรารถนา (พระอ.บุญชู)

                 และ สำนักสักยันต์ นารายณ์สิบทิศ (อ.ฑูรย์)
                                           ผู้ดำเนินงาน   
   เผยแผ่เป็นธรรมทานแก่สาธุชนทุกท่านโดยครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน       

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

เพจ Jiraporn Tongkampra

เพจ Jiraporn Tongkampra
แบ่งปันสื่อ ไอเดียสอนลูก ใบงาน ไฟล์แบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้ของลูกน้อย ของเล่นเสริมพัฒนาการ

สำนัก อ.น้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน

สำนัก อ.น้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน
เวบแบ่งปันวิทยาทานและธรรมทาน รวมทั้งสาระหน้ารู้ต่างๆที่ค้นหานำมาแบ่งปัน

ช่องยูทูปครูน้อย

ช่องยูทูปครูน้อย
ติดตามคลิบวีดีโอที่แบ่งปันวิทยาทานและธรรมทานได้อีกช่องทาง