น้อยคนจะเข้าใจความหมายของผ้าแดงกับผ้าขาวในขันครูว่าเป็นอุบายธรรมสอนคนอย่างไร
มันจึงเป็นแค่อุปกรอย่างหนึ่งที่ใส่ในขันครูเท่านั้น ผมมานั่งพิจจารนาก็ให้เห็นความจริงที่คนส่วนหนึ่งทำกันคือ กราบไหว้ครูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่กลับไม่ได้กราบตรงไปถึงคุณด้วยใจนอบน้อมจริงๆ จะเห็นได้จากประวัติเรื่องราวที่กล่าวยกย่องครูส่วนมากก็จะเอ่ยว่า ท่านใดศักดิ์สิทธิ์อย่างไร เก่งกาจอย่างไรในพระเวทย์ แม้การกล่าวประวัติความเป็นมาของครูสายภิกษุสงฆ์ก็มักจะเอ่ยอ้างถึงคุณวิเศษแห่งฤทธิ์ซึ่งต้องการสื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ การเคารพของคนส่วนหนึ่งจึงเคารพเพราะความศักดิ์สิทธิ์เป็นสำคัญในจิตใจ
คุณธรรมกับความศักดิ์สิทธิ์นั้นมันห่างไกลกันคนละความหมาย เพียงแต่มีอุปการะเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ผู้ที่อบรมตนด้วยคุณธรรมย่อมเป็นเหตุให้เข้าถึงคุณวิเศษ(คุณพิเศษ) ด้วยความพิเศษแห่งคุณนี้เราก็ถือเอาว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ จึงเคารพหมอบกราบที่ความศักดิ์สิทธิ์ แต่กลับเข้าไม่ถึงคุณธรรมแท้จริงของท่านครูเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่คนบางส่วนที่ถือความศักดิ์สิทธิ์ จะได้มองข้ามคุณธรรม จึงมีส่วนน้อยจะเอ่ยอ้างยกย่องครูที่พร่ำสอนตน เพราะครูปัจจุบันที่พร่ำสอนไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ในใจ เป็นแค่ผู้ให้ความรู้ในความสำนึกเท่านั้น คนเหล่านี้จะไม่เกรงกลัวคำครู แต่จะเกรงกลัวความศักดิ์สิทธิ์ของครูเก่าก่อน ยิ่งได้ยิ่นว่าท่านขลังก็ยิ่งเคารพยำเกรง แต่กับครูที่พร่ำสอนตนกลับไม่เคารพเชื่อฟัง
ด้วยภูมิปัญญาครูเก่าท่านที่รู้และผ่านเรื่องเหล่านี้มาก่อนจึงผูกปริศนาไว้สอนคน ว่าการเคารพกราบไหว้ก็ควรให้เคารพที่คุณเสมอเหมือนกัน ไม่ว่าครูแก่เก่าก่อนหรือครูปัจจุบัน ผ้าขาวนั้นจึงเปรียบผู้ที่มีเพียงคุณความดีที่บริสุทธิ์ที่เหลือฝากไว้ ผ้าแดงนั้นคือครูผู้ที่ยังมีเลือดเนื้อสีแดงไหลเวียนที่ยังคอยพร่ำสอนศิษย์ให้เจริญในสัพพะวิชชา ผ้าขาวรองรับผ้าแดงที่วางทับซ้อนหมายถึงแรงครู วิญญาณผีครูเทวดาครูคอยหนุนส่ง ผ้าแดงรองกลวยดอกไม้ที่เป็นสิ่งแทนความหมายของรูปนาม ของตัวผู้เล่าเรียน อันหมายความว่าครูผู้สอนสั่งยกยอเราให้มีความเจริญในวิชชานั่นเอง
ซึ่งเราจะเห็นว่า สิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงคุณธรรมอันดีที่ความเป็นครูและศิษย์มีแก่กัน เป็นสายใยแห่งความดีงามที่คนโบราณสอนให้เรารู้จักสำนึกคุณความดีของผู้อุปการะคุณ ไม่ได้มุ่งเน้นให้คนงมงายแต่ในความศักดิ์สิทธิ์ ผมพิจจารนาแล้วเห็นอย่างนั้น เห็นแต่การสรรเสริญความศักดิ์สิทธิ์ สุดท้ายก็ยกความศักดิ์สิทธิ์ว่าเป็นของตัวไป น้อยนักที่จะซาบซึ้งถึงบุญคุณของผู้มีคุณด้วยใจบริสุทธิ์แท้จริง
จิตสำนึกไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่จะเกิดขึ้นได้เพราะบุคคลนำมาสร้างเหตุ นำมาคิดพิจจารณาถึงความอุปการะที่ได้รับจากครูผู้สั่งสอน การหมอบกราบในหลักคำสอนทางศาสนาพุทธนั้น เป็นหลักคารวตา
คารวะ หรือ คารวตา 6 (ความเคารพ, การถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพึงใส่ใจและปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจัง, การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแล้วปฏิบัติต่อบุคคลหรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง ด้วยความจริงใจ)
1. สัตถุคารวตา (ความเคารพในพระศาสดา ) ข้อนี้บางแห่งเขียนเป็น พุทธคารวตา (ความเคารพในพระพุทธเจ้า )หมายถึงความเคารพใน พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ เป็นอเนกอนันต์
2. ธัมมคารวตา (ความเคารพในธรรม ) คือการศึกษาปฏิบัติด้วยความเคารพเป็นอเนกอนันต์
3. สังฆคารวตา (ความเคารพในสงฆ์) พระสงฆ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม และเป็นผู้นำทางจิตใจ คฤหัสถ์ย่อมบำรุงพระสงฆ์ ผู้มีคุณด้วยหลักห้าประการ ดังนี้
1) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
2) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
3) จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
4) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
5) อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4
4. สิกขาคารวตา (ความเคารพในการศึกษา )
5. อัปปมาทคารวตา (ความเคารพในความไม่ประมาท)
6. ปฏิสันถารคารวตา (ความเคารพในปฏิสันถารการต้อนรับไปมาหาสู่กัน)
ตามที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นข้อศึกษา ให้เราทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดจิตสำนึก แล้วลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้องตามธรรม ตามหน้าที่
ผู้ถือไสย์เวทย์หากทำไม่ถูกก็จะยิ่งก่อเกิดโทษเป็นบาปกรรมทำความเสื่อมแก่ตน ด้วยความที่ยึดถือผิดๆ แล้วกระทำตนผิดจากคุณธรรมอันดีงาม ความศรัทธานั้นไม่ใช่เรื่องผิด ที่จะผิดนั้นเพราะศรัทธาที่มีไม่ประกอบด้วยปัญญา พระพุทธศาสนาเรียกความเห็นผิด ( มิจฉาทิฏฐิ) แม้เราจะร่ำเรียนพระเวทย์คาถาซึ่งมีจุดเด่นเรื่องความอัศจรรย์อภินิหารย์ แต่จุดมุ่งหมายแท้จริงของครูผู้สอน ที่มีสัมมาทิฏฐิ ท่านวางกลวางแบบอย่างเหล่านี้เพื่อจะได้เป็นอุบายวิธีชักนำคนเข้าหาพระธรรมที่ถูกต้อง ไม่ได้มุ่งหวังให้เรางมงายในความขลังศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างเดียว เพราะแท้แล้วบรมครูทุกๆท่านที่เราเคารพนั้น ทุกท่านล้วนก่อร่างคุณวิเศษเริ่มมาจาก คุณธรรมกันทั้งสิ้น คือประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมคำสอนที่ถูกตรง จนเกิดคุณวิเศษที่เป็นผลพลอยได้นั้นมา แสดงให้เราเกิดศรัทธา เพื่อจะได้นำพาเราให้เข้าถึงการปฏิบัติอันเป็นความหมดจดอย่างแท้จริง
ฉนั้น การเคารพกราบไหว้ ขอให้เราท่านตรึกตรองให้ดีว่าเราเคารพตามแบบอย่างพระธรรมคำสอนใหม หรือเราเองยังหมอบกราบตามลัทธิ เทวนิยมกันอยู่
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น