วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

พุทธศาสตร์สอนให้เรียนรู้ตนเอง

บนโลกใบนี้มีศาสตร์วิชชาความรู้มากมายนับไม่ถ้วน ที่เกิดขึ้นจากปัญญาความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ ซึ้งถ้าเราจะเรียนให้หมดทุกแขนงนั้นก็คงไม่รู้จบและใช้เวลายาวนาน แต่ความรู้ต่างๆเหล่านี้ยิ่งเรียนและรู้มากเท่าไหร่ อัตตาความมีตัวตนก็ยิ่งมีมากเพิ่มขึ้นเท่าตัว เพราะยิ่งรู้ยิ่งเพิ่มความอยากมีอยากเป็น "ความรู้สึกมันเหมือนโยนหินลงเหว โยนเท่าไหร่มันก็ไม่เต็ม ความอยากมันเป็นอย่างนั้น" รู้เท่านี้แล้วมันไม่พอมันอยากรู้อยากทำเป็นมากขึ้นไปอีก เมื่อรู้มากความรู้สึกยึดถือมันก็มากตามจนมีอัตตาเต็มจิตเต็มใจ มีมากทุกข์ก็มากตามลำดับ เมื่อเรามีอะไรสักอย่างที่เรายึดว่าเป็นของเรา เราจะเริ่มรู้สึกหวงแหน เป็นห่วง เป็นกังวล จนเป็นทุกข์ขึ้นมา ความเป็นจริงแล้ว การมีความรู้มาก การมีสิ่งของต่างๆมาก ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร และไม่ใช่เหตุให้เราทุกข์ เป็นได้แต่เพียงปัจจัยที่มีส่วนร่วมให้เกิดทุกข์เท่านั้น แต่เหตุแท้จริงแล้ว เมื่อเรามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับเรา ใจเรามันไปยึดเป็นอัตตาว่า นี้ตัวตนเรา นี้ความรู้เรา นี้สิ่งของของเรา ตรงนี้แหละที่มันเป็นเหตุเเห่งทุกข์ที่เกิดขึ้น เมื่อยึดขึ้นมา มันก็อยากสาระพัดอยากมีขึ้นมาในดวงจิตดวงใจ กลายเป็นความสำคัญในตัวตนและสิ่งของที่มี ฉนั้น การมีสิ่งต่างๆแล้วยึดมั่นถือมั่นไว้ในจิตใจ จะเป็นการที่เรารู้สึกในการมีตัวตน รู้สึกว่ามีความรู้ รู้สึกว่าเรามีสิ่งของ เกิดขึ้นในใจนั้น เป็นเชื้อโรคร้ายทางจิตวิญญาณที่เป็นเหตุให้ก่อทุกข์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย คำสอนทางพระพุทธศาสนาจึงสอนให้เราดับทุกข์ ด้วยการดับเหตุ ซึ่งเหตุนั้นมันเกิดขึ้นในใจเรา ไม่ได้เกิดขึ้นที่ศาสตร์วิชชาแขนงใหนๆ ไม่ได้เกิดขึ้นที่วัตถุสิ่งใหน แต่เกิดขึ้นเพราะใจมีเชื้อของกิเลสเป็นเหตุ พระพุทธองค์จึงสอนให้เราเรียนรู้ตนเองรู้เห็นตนเอง แล้วดับเหตุในตนเอง เพื่อจะได้หมดทุกข์เพราะตนเองก่อเอง ความรู้อื่นในโลกสอนให้เรารู้เห็นสิ่งภายนอกให้เราพึ่งสิ่งอื่นภายนอก แม้ลัทธิอื่นๆก็สอนให้พึ่งเทพเจ้า แต่มีศาสนาเดียวในโลกที่สอนให้รู้จักตนเองแล้วมีตนเองเป็นที่พึ่ง ยิ่งรู้จักตนเองได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งหมดตัวหมดตน ลดอัตตาตัวตนลงได้มากเท่านั้น เมื่ออัตตามันลด ทุกข์ก็ลดลงตาม ความหวงแหนความห่วงใย ความกังวล ความอาลัย ที่เกิดจากความคิดสำคัญผิดว่ามีเรามีเขา มันก็น้อยลง ทุกข์จึงลดน้อยลงตาม ก็จะเหลือแต่สติปัญญาในการมีสิ่งเหล่านี้ในการสร้างประโยชน์แก่ตน คนอื่น สังคม อย่างถูกต้องดีงาม
การเริ่มเรียนรู้ข้อธรรมเป็นศาสตร์เดียวในโลกที่สอนให้เรารู้แล้วละวาง แม้พระธรรมเพียงหัวข้อเดียว หากเราเอามาพินิจพิจจารนาอย่างจริงจังจนรู้แจ้งชัดในบทนั่นๆ ก็เกิดคุณอนันต์แก่เราแล้ว...!

ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน.

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อ่านหนังสืออย่างไรให้ใจเกิดสมาธิ

อ่านหนังสืออย่างไรให้ใจเกิดสมาธิ
การอ่านตัวหนังสือนั้นก็สามารถทำให้จิตเกิดเป็นสมาธิได้ ..!
ลักษณะการอ่านหนังสือจะแยกให้เห็นอาการได้สองลักษณะ คือ
๑ อ่านผ่านๆเพื่อให้รู้เนื้อหา อ่านลักษณะนี้จะเป็นการอ่านเพื่อให้รู้เนื้อความบทความนั้นๆ โดยที่เป็นการกวาดสายตาอ่านผ่านๆ และรับรู้เอาเนื้อหาที่สนใจเท่านั้น คนที่อ่านหนังสือลักษณะนี้ จะอ่านหนังสือที่มีข้อความยาวๆไม่จบ หรือเข้าใจเนื้อหาเพียงบางส่วนที่สนใจ เมื่อฝึกทำบ่อยๆก็จะกลายเป็นลักษณะ สมาธิสั้น คือจดจ่อในเนื้อหาได้ไม่นาน อ่านข้อความยาวๆไม่ได้ จะเกิดความเบื่อหน่าย
๒ อ่านด้วยใจจดจ่อเพื่อให้รู้เนื้อหาและเข้าใจในเนื้อความอย่างกระจ่าง อ่านลักษณะนี้จะเป็นการอ่านอย่างใจเย็น อ่านไปทีละคำ ใคร่ครวญในข้อความไปพร้อม ก็จะเกิดทั้งความเข้าใจและอารมณ์ตามเนื้อหานั้นๆ ถ้าอ่านบทความที่เป็นธรรมะใจจะเกิดปิติเกิดความสงบใจขึ้นมา ยิ่งอ่านด้วยใจที่จดจ่อก็ยิ่งเข้าใจเนื้อหา มีความปิติปราโมทย์เกิดขึ้น เกิดความสุขใจ ใจก็ตั่งมั่นเป็นสมาธิขึ้นมาในขณะนั้น
ฉนั้น การอ่านก็สามารถทำให้จิตเกิดสมาธิขึ้นมาได้ ถ้าเข้าใจลักษณะการอ่านที่ถูกต้อง การอ่านบทความต่างๆการอ่านหนังสือเรียน การอ่านธรรมะ หากอ่านตามลักษณะที่สองจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการอ่าน อ่านแล้วเกิดความเข้าใจ อ่านแล้วจดจำเนื้อหาได้แม่นยำ นั้นเพราะการจดจ่อของใจ ทำใจจดจ่ออย่างตั่งใจในการอ่าน พิจจารนาไปตามเนื้อความ ค่อยๆประคับประคองใจให้อยู่ในเนื้อหาข้อความ ไม่ส่อส่ายไปนอกเรื่อง ฝึกทำอย่างนี้ จะทำให้จิตเกิดได้ทั้งสมาธิและปัญญาไปในทีเดียวกัน (ลูกหลายที่ยังเด็กก็ให้สอนเขาทำอย่างนี้ เขาจะมีสมาธิและเรียนหนังสือได้เก่งมาก)
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน.

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อานิสงส์การให้ทานการรักษาศีล

ในอดีตกาลครั้งหนึ่ง 
พ่อค้าสำเภา 700 คน เดินทางไปทำการค้าในทะเล ในวันที่เจ็ดเกิดพายุใหญ่ เรือกำลังจะจมพ่อค้าทั้งหลายต่างอ้อนวอนเทวดาให้ช่วยเหลือ แต่ชายคนหนึ่ง นึกถึงศีลเป็นที่พึ่ง แล้วนั้นขัดสมาธิ ดุจโยคีพวกพ่อค้าจึงถามว่าท่านไม่กลัวรึ ชายผู้นั้นตอบว่า เราไม่กลัวภัยเหล่านี้เพราะเราได้ถวายทานแด่พระภิกษุในวันที่ขึ้นเรือ และได้รับศีล ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่กลัว

พ่อค้าทั้งหลายอยากรับศีลเป็นที่พึ่งบ้าง ชายผู้นั้นจึงจัดให้พ่อค้ายืนเป็นแถว 7_แถว แถวละ 100_คน และให้สมาทานศีลที่ละแถว ขณะที่แถวแรกสมาทานศีล น้ำเข้ามาในเรือถึงระดับข้อเท้า เมื่อแถวที่ 2_สมาทานศีล น้ำก็ท่วมถึงเอว ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อแถวที่ 7_สมาทานศีล ระดับน้ำมาถึงปากต้องสมาทานศีลขณะน้ำเข้าปากจากนั้น ชายผู้นั้นได้ร้องว่า
"ที่พึ่งของเราไม่มีแล้วท่านทั้งหลายพึงนึกถึงแต่ศีลเท่านั้น" ในที่สุดทุกคนก็จมน้ำตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยอำนาจแห่งศีล

"เมื่อเรือนถูกไฟไหม้แล้ว เจ้าของเรือนขนเอาภาชนะใดออกไปได้ ภาชนะนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา ส่วนสิ่งของที่มิได้ขนออกไป ย่อมไหม้ในไฟนั้น ฉันใด โลก (คือหมู่สัตว์) อันชราและมรณะเผาแล้ว ก็ฉันนั้น ควรนำออก (ซึ่งโภคสมบัติ) ด้วยการให้ทาน เพราะทานวัตถุที่บุคคลให้แล้ว ได้ชื่อว่านำออกดีแล้ว

ทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วนั้นย่อมมีสุขเป็นผล ที่ยังมิได้ให้ย่อมไม่เป็นเหมือนเช่นนั้น โจรยังปล้นได้ พระราชายังริบได้ เพลิงยังไหม้ได้ หรือสูญหายไปได้ อนึ่งบุคคลจำต้องละร่างกายพร้อมด้วยสิ่งเครื่องอาศัยด้วยตายจากไป ผู้มีปัญญารู้ชัด ดั่งนี้แล้ว ควรใช้สอยและให้ทาน เมื่อได้ให้ทานและใช้สอยตามควรแล้ว จะไม่ถูกติฉิน เข้าถึง สถานที่อันเป็นสวรรค์"


 คำสมาทานศีล 5
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมมาสัมพุทธัสสะ
พูทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ​

 สี เล นะ สุคติง ยันติ (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงความสุข)

สี เล นะ โภคสัมปทา (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่ง โภคทรัพย์)

สี เล นะ นิพพุติง ยันติ (และศีลนั้นยัง จะเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือความดับเย็นจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ทั้งปวง) 


 ศีล 5 คือศึลพื้นฐานที่ชาวพุทธทุกคนพึงยึดถือและปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความสุขความเจริญของตนเอง

อานิสงส์ของการปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา



ท่านทั้งหลายที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์อำนาจวาสนาและทรัพย์สมบัติใน อดีตกาล จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิมีสมบัติสร้างสมมาด้วยเลือดและน้ำตาของผู้อื่นจนค่อน โลก แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่านที่เคยยิ่งใหญ่ จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย จนในที่สุดก็สลายไปจนหาไม่พบว่าเนื้อ หนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านว่าอยู่ที่ตรงไหน คงเหลืออยู่แต่สิ่งที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อกำเนิดมาเป็นตัวของท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เพียงเท่านี้มิได้ยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านในอดีต จะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ
ในเมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆกันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะ ต้องทิ้ง จะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้
เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ์ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้า แม้ หากว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเอาไว้ว่ามีจริงดั่งที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอม รับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายไม่ขาดทุนหรอกหรือ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ กลับต้องโมฆะเสียเปล่าก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น ” โมฆะบุรุษ ” โดยแท้

โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

อานิสงส์กรวดน้ำ

อานิสงส์กรวดน้ำ
เมื่อญาติของเราอันเป็นที่รักได้เสียชีวิตลงแล้ว ได้มีการทำบุญสังฆทานอุทิศส่วนกุศลไปให้ มีการกรวดน้ำส่งบุญถึงผู้วายชล ได้อานิสงส์อย่างไร มีพระดำรัสดังนี้....!


ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ผลของศรัทธาในพระพุทธเจ้า

ผลของศรัทธาในพระพุทธเจ้า
ปัญหา ในศาสนาฝ่ายเทวนิยม ผู้ใดมีความเชื่อและความรักในพระผู้เป็นเจ้า ผู้นั้นย่อมมีหวังเข้าสู่สวรรค์ ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้อย่างไรบ้าง?
พุทธดำรัสตอบ “....บุคคลใดมีเพียงความเชื่อ เพียงความรักเราบุคคลนั้นทั้งหมดเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า”
ผลแห่งการละกิเลส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว
ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ เพื่อจะบัญญัติต่อไป.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว
ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ ประการ ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว
ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว กับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว
ภิกษุเหล่าใด ผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว
บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
อลคัททูปมสูตรที่ ๒

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

องค์แห่งสมาธิ วิตก วิจาร คืออะไร?

วิตก คือ ความตริตรึกในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ โดยมีจิตดำริถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ระลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ และมีใจฝังลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ(จิต) จิตที่เข้าไปตั้งอาศัยในอารมณ์นั้น ธรรมชาตินั้นย่อมรู้แจ้งในอารมณ์ใดๆ  มีลักษณะอาการที่เกิดกระบวนกระใคร่ครวญในอารมณ์ว่าเหมาะสมดีแล้วจึงยกขึ้นสู่ใจ เรียกว่า วิตก

วิจาร ความใคร่ครวญถึงอารมณ์นั้นอันเป็นสิ่งที่จิตเข้าไปรู้แจ้ง มีลักษณะกำหนดพิจจารณาเห็นแจ้งชัดซึ่งวิตกอยู่ว่า รูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งของวิตกนั้นว่า ความมีอยู่ เหตุให้เกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกซึ่งวิตกนั้น นี้เรียกว่า วิจาร

ในปฐมฌาน เพราะสงัดจากกาม อันไม่มีอกุศลธรรมใด
ย่อมละราคะด้วยปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร ปิติ สุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
วิตกและวิจารที่พึงเกิดขึ้น โดยพระพุทธองค์ให้พิจารณาใคร่ครวญธรรม
โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท
เป็นอารมณ์แห่งจิตนั้น เมื่อพิจารณาใคร่ครวญ
เป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เห็นอยู่อย่างนี้แล้ว
ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
ปิติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์แล้ว
กายของผู้มีใจปิติแล้วย่อมรำงับ
ผู้มีกายสงบรำงับแล้วย่อมเสวยสุข
จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมรู้เห็นได้ตามความที่เป็นจริงซึ่ง
ทุกข์ (ความแปรปรวนไป ตั้งอยู่ไม่ได้)
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความดับทุกข์
และข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไปแห่งทุกข์


ดังตัวอย่างว่า
กรณีเจริญอานาปานสติ วิตกและวิจาร ในปฐมฌาน เป็นเรื่องของการตริตรึกและใคร่ครวญ
ในสิ่งที่พระศาสดาทรงตรัสว่า พิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท

หากจะพิจารณาลมหายใจ ก็ให้พิจารณาว่า ลมหายใจ นี้ คือ วาโยธาตุ  ใจที่ระลึกถึงอารมณ์คือ อากาสธาตุ  เสียงที่เปร่งคือ ปฐวีธาตุ

ในปฐมฌาน สมาธิอันเกิดในขั้นนี้ เป็นไปเพื่อ...

๑. การสงัดจากอกุศลธรรม ที่เกิดจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน ทางกาย วาจา
๒. การสงัดนิวรณ์ ๕ ทางใจ คือ
  • ความพอใจในกาม 
  • ใจพยาบาท
  • ความที่จิตหดหู่
  • ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
  • ความสงสัยเนื่องด้วยไม่รู้
๓. สงัดจากวาจา
๔. สงัดเสียงที่ไม่เป็นเสี้ยนหนามในฌาน

เมื่อธรรมทั้ง ๔ ข้างต้น ส่งไปถึงแล้ว อาการของจิตจะมีได้ดังนี้

๑. ย่อมเกิดปราโมทย์
๒. ย่อมเกิดปิติ
๓. ย่อมเกิดกายสงบ
๔. ย่อมเกิดสุข
๕. ย่อมมีจิตตั้งมั่น

ในขณะทำสมาธิ

วิตก ที่นำมาตริตรึกนั้น อาจจะยกหัวข้อธรรมนั้นขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง เช่นการพิจารณาอานาปานสติสมาธิ
วิจารณ์ ที่นำมาใคร่ครวญต่อนั้น คือ
  • ลมหายใจของเรานั้นเป็นกายอันหนึ่งๆในกายทั้งหลาย
  • การทำในใจอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและออกนั้นเป็นเวทนาอันหนึ่งๆในเวทนาทั้งหลาย
  • การที่รู้ว่าจิตของเรานั้นเป็นผู้รู้ลมหายใจเข้าและออกนั้น
  • การเห็นการเกิดและดับในภายใน
เป็นต้น...

วิตกและวิจารณ์ดังกล่าว
       เป็นไปเพื่อกุศลธรรม กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม
       เป็นไปเพื่อสมาธิ
       เป็นไปเพื่อจิตตั้งมั่น
       เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
       เป็นไปเพื่อโพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
       อันอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปเพื่อการสละคืน
       วิชาและวิมุติ จึงเกิดขึ้น ได้ตั้งแต่ในปฐมฌาน

       ใคร่ครวญว่าเมื่อก่อนเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเช่นไรกับลมหายใจเข้าและ ออก และหลังจากนั้นเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างไรถึงลมหายใจเข้าและออก หากเราวิจารถึงลมหายใจเข้าและออกช่วงแรกไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวยาวเดี๋ยวสั้นไม่เป็นจังหวะ แต่บัดนี้ลมหายใจของเราเป็นจังหวะที่ราบเรียบ สม่ำเสมอ ละเอียดและประณีตเป็นประจักแก่ใจในปัจจุบันธรรม  อย่างนี้
ผู้ใคร่ในการภาวนาควรศึกษาพิจจารนาตามห้วข้อที่กล่าวนี้  เพื่อให้เกิดความกระจ่างในแนวทาง  จะได้ปฏิบัติไปได้ถูกตรง  ไม่ได้คิดเองเห็นเอง  แต่อาศัยซึ่งคุณแห่งพระธรรมเป็นอุปการะในการพิจจารนา  จึงได้ค้นหาและนำหัวข้อแห่งวิตกและวิจารนี้มาให้ท่านได้เรียนรู้กัน.
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน.

งานออกแบบเสื้อยันต์

งานออกแบบเสื้อยันต์
ขนาดหน้ากว้างA3  เนื้องานทางลูกค้าสามารถแจ้งรูปแบบว่าต้องการรูปอะไรบ่าง  และเน้นพุทธคุณทางด้านใหน  เช่น  คงกระพัน  แคล้วคลาด  มหาอำนาจ  เสน่ห์เมตตา  มหานิยม  มหาละลวย  ค้ำคูนหนุนดวงเป็นต้น  ทางเราก็จะจัดการออกแบบและจัดทำยันต์และลงอักขระให้ตรงตามที่ต้องการ  ส่วนราคาการออกแบบนั้นทางร้านจะไม่คิดสำหรับท่านที่สั่งปั้มงานกับทางร้าน  โดยจะคิดเฉพาะตามเนื้องานจำนวนงานที่สั่งทำ  ตามภาพนี้เป็นเสื้องานไหว้ครูของท่าน อาจารย์ สุริยันต์ สักยันต์ไทย  ซึ้งให้ความไว้วางใจให้ทางร้านสรรสร้างลายยันต์ให้  เพื่อท่านจะได้นำเสื้อยันต์ไปให้ลูกศิษย์ที่ร่วมบุญในงานไหว้ครูได้จับจองบูชา  ถ้าท่านใดสนใจที่จะสักยันต์ไทยตรงตามสูตรตามความถูกต้อง  และสวยงามเข้มขลังด้วยพลังแรงครูและพลังจิตของอาจารย์ท่านนี้  ก็สามารถติดตามได้ในช่องทางเฟสบุ๊คที่ทางร้านลงลิ้ง  นี้ไว้ให้  สามารถกดเข้าไปติดตามได้เลยนะครับ

หากท่านใดต้องการทำผ้ายันต์หรือเสื้อยันต์  ก็สามารถติดต่อสอบถามมาได้ทั้งช่องทาง  เพจ 
และ  เฟสบุ๊คนี้





วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

มงคล๓๘ ประการข้อที่๑ " อเสวนา จ พาลานํ "

" อเสวนา จ พาลานํ "

" อเสวนา  จ  พาลานํ "
ไม่คบคนพาล  พึงคบบัณฑิต 
  ลักษณะคนพาล 
           ส่วนลักษณะคนพาล  พึงทราบด้วยอำนาจทุจริตมีความคิด
เรื่องที่คิดชั่วเป็นต้น.  จริงอยู่  คนพาล  แม้เมื่อคิด  ย่อมคิดแต่เรื่อง
ที่คิดชั่ว  ด้วยอำนาจอภิชฌา  พยาบาล  และมิจฉาทิฏฐิ  ถ่ายเดียว,
แม้เมื่อพูด  ก็พูดจำเพาะแต่คำที่พูดชั่ว  ต่างโดยวจีทุจริตมีมุสวาท
เป็นต้น,  แม้เมื่อทำ  ก็ทำจำเพาะแต่กรรมที่ทำชั่ว  ด้วยสามารถกายทุจริต
มีปาณาติบาตเป็นต้น.   ด้วยเหตุนั้น  ทุจริตทั้งหลายมีความคิดเรื่องที่
คิดชั่วเป็นต้นของเขา  ท่านจึงเรียกว่า  พาลลักษณะ  เพราะคนพาลเป็น
เหตุอันบุคคลกำหนด  คือรู้กันได้,  เรียกว่าพาลนิมิต  เพราะเป็นเหตุ
แห่งการหมายรู้คนพาล,  และเรียกว่าพาลาปทาน  เพราะคนพาลประพฤติ
ไม่ขาด.  ด้วยเหตุนั้น  ในพาลบัณฑิตสูตร*  ในอุปริปัณณาสก์
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า  "ภิกษุทั้งหลาย  พาลลักษณะ  พาลนิมิต
พาลาปทานของคนพาล  ๓  ประการเหล่านี้.  ๓  ประการอะไรบ้าง ?
ภิกษุทั้งหลาย  คนพาลในโลกนี้  ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดชั่ว  พูดแต่
คำที่พูดชั่ว  ทำแต่กรรมที่ทำชั่ว."
 
 ลักษณะบัณฑิต
 สัตว์ผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ  ๑๐  มีเว้นจากฆ่าสัตว์
เป็นต้นเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ชื่อว่า  บัณฑิต.  อีกประการหนึ่ง  พระ
พุทธะ  พระปัจเจกพุทธะ  พระมหาสาวก  ๘๐  และพระสาวกของพระ
ตถาคตเหล่าอื่น  ครูสุเนตต์  และอกิตติดาบสเป็นต้น  ในอดีตกาลพึงทราบว่า 
 "บัณฑิต."  ท่านเหล่านั้นแม้ทั้งหมด  เรียกว่าบัณฑิต   ส่วนลักษณะบัณฑิต 
 พึงทราบด้วยสามารถแห่งสุจริตมีความ
คิดเรื่องที่คิดดีเป็นต้น  ที่ตรัสไว้ในพาลบัณฑิตสูตร๔อย่างนี้ว่า  "ภิกษุ
ทั้งหลาย  บัณฑิตลักษณะ  บัณฑิตนิมิต  บัณฑิตาปทาน  ของ
บัณฑิต ๓  ประการเหล่านี้.  ๓  ประการอะไรบ้าง ?  ภิกษุทั้งหลาย
บัณฑิตในโลกนี้  ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดดี  พูดแต่คำพูดที่ดี  และ
ทำแต่กรรมที่ทำดี."  ก็คำว่า  สุจินฺติตจินฺตี  เป็นต้น
 
  ในคนพาลและบัณฑิตทั้ง ๒  พวกนั้น  พวกบัณฑิตเท่านั้น
ควรเสพ,  พวกคนพาล  หาควรเสพไม่;  เพราะพวกคนพาลเป็นเช่น
 กับปลาเน่า,  ผู้เสพคนพาลนั้น  ก็เช่นกับใบไม้ห่อปลาเน่า  ถึงความ 
เป็นผู้อันวิญญูชนทั้งหลายควรทิ้งและเกลียดชัง.  (ฝ่าย)  บัณฑิต  เป็น
เช่นกับของหอมมีกฤษณาและมาลาเป็นต้น  ถึงความเป็นผู้ควร
กับใบไม้ที่พันของหอมมีกฤษณาและมาลาเป็นต้น  ถึงความเป็นผู้ควร
สรรเสริญและฟูใจของวิญญูชนทั้งหลาย.  
           ก็ผู้ใดคบคนใด,  ผู้นั้นก็มีคนนั้นเป็นคติเทียว. 
   [เรื่องม้าปัณฑวะ]
             ในอดีตกาล  ได้มีพระราชา  (พระองค์หนึ่ง)  ในกรุง 
พาราณสี  ทรงพระนามว่า  สามะ  พระโพธิสัตว์เป็นอำมาตย์ผู้อนุศาสก์
อรรถธรรมของท้าวเธอ.  และท้าวเธอมีม้ามงคลอยู่  (ตัวหนึ่ง)  ชื่อ
ปัณฑวะ.  คนเลี้ยงม้าของพระองค์  ชื่อนายคิริทัต  เป็นคนขาเขยก.
ม้าเห็นเขาจับบังเหียนเดินนำหน้า  สำคัญว่า  "เจ้านี่  ให้เราศึกษา"
จึงสำเหนียกตามอาการของเขา  ได้เป็นม้าขาเขยกไป.   พระราชาว่า
"พวกข้าพระองค์ไม่พบโรคของม้านั้น."  พระราชาทรงส่งพระโพธิ-
สัตว์ไป  ด้วยรับสั่งว่า  "ท่านจงไป  (ดูให้)  รู้เหตุในเรื่องนี้."  พระ
โพธิสัตว์นั้นไปแล้ว  ทราบว่าม้านั้นเดินกะเผลก  เพราะเกี่ยวข้อง๑กับ
คนเลี้ยงม้าขาเขยก  จึงกราบทูลว่า  "ขอเดชะ  เหตุที่เป็นเช่นนี้
เพราะโทษที่เกี่ยวข้องกัน"  ดังนี้แล้ว  กราบทูลว่า  "ม้านั้น  ได้คน
เลี้ยงที่ดีแล้ว  จักดีเหมือนอย่างเดิม."  พระราชารับสั่งให้ทำอย่าง
นั้น.  ม้าได้ตั้งอยู่ในปกติภาพแล้ว.
           เรื่องม้าปัณฑวะ   ในอรรถกถาแห่งคิริทัตตชาดก๒ในทุกนิบาต  จบ.
  "การพบพระอริยเจ้าทั้งหลาย  เป็นความดี
              การอยู่ร่วม   เป็นสุข  ทุกเมื่อ, บุคคลพึงมีความ
              สุข  เป็นนิตย์ได้แท้จริง  ก็เพราะไม่พบคนพาล
              ทั้งหลาย."
   [เรื่องวิพภันติกภิกษุ]
           ดังได้สดับมา  ภิกษุนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ
เป็นผู้ได้จตุตถฌาน  เห็นรูปารมณ์อันเป็นข้าศึก  ในเรือนแห่งลุงของ
ตนแล้ว  ก็มีจิตผูกพันในอารมณ์นั้น  สึกแล้ว  ถูกไล่จากเรือน
เพราะเป็นคนเกียจคร้าน  เชื่อคำของพวกปาปมิตร  เที่ยวเลี้ยงชีวิต
อยู่ด้วยโจรกรรม.  วันหนึ่ง  เขาถูกพวกเจ้าพนักงานจับได้  มัดแขน 
 ไพล่หลังไว้มั่น  แล้วจึงเอาหวายเฆี่ยนคราวละ ๔ๆ  นำไปสู่ตะแลง- 
แกงทางประตูด้านทักษิณ  แห่งกรุงราชคฤห์.  วันนั้น  พระมหา-
กัสสปเข้าไปสู้พระนครเพื่อบิณฑบาต  เห็นเขาแล้ว  ขอให้พวก  
เจ้าพนักงานคลายเชือกมัดให้หย่อน   แล้วกล่าวว่า  "เจ้าจงคำเถระแล้ว
กัมมัฏฐาน  ที่เจ้าอบรมไว้ในกาลก่อนอีก."  เขารับคำเถระแล้ว 
ยังจตุตถฌานให้บังเกิดอีก  ถูกพวกเจ้าพนักงานเหล่านั้นนำไปสู่ตะเลง 
แกงแล้ว  ให้นอนหงายบนหลาวก็ดี  ถูกขู่ด้วยอาวุธทั้งหลายก็ดี  ก็
ไม่กลัว.  พวกเจ้าพนักงานเห็นเขาไม่กลัว  จึงทูลแด่พระเจ้าพิมพิสาร.
พระราชารับสั่งว่า  "พวกท่านจงปล่อยมันไป"  แล้วเสด็จไปสู่พระ
เวฬุวัน  ทูลแด่พระศาสดา.  พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในเวฬุวัน
ทรงแผ่พระรัศมีไปแสดงธรรมแก่เขา.  เขาได้ฟังเทศนา  นั่งอยู่บน
ปลายหลาวนั่นแล  พิจารณาสังขารยกขึ้นไตรลักษณ์  ได้เป็นพระ
โสดาบันแล้ว  ไปสู่สำนักพระศาสดาทางเวหาส  บวชแล้วบรรลุพระ
อรหัต  ในท่านกลางบริษัท  พร้อมทั้งพระราชานั่นเอง  ดังนี้แล.
       เรื่องวิพภันติกภิกษุ  ในตัณหาวรรคพระธรรมบท*  จบ.
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ผ้าแดงผ้าขาวอุบายธรรมสอนใจคน

ผ้าแดงผ้าขาวอุบายธรรมสอนใจคน
น้อยคนจะเข้าใจความหมายของผ้าแดงกับผ้าขาวในขันครูว่าเป็นอุบายธรรมสอนคนอย่างไร
มันจึงเป็นแค่อุปกรอย่างหนึ่งที่ใส่ในขันครูเท่านั้น ผมมานั่งพิจจารนาก็ให้เห็นความจริงที่คนส่วนหนึ่งทำกันคือ กราบไหว้ครูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่กลับไม่ได้กราบตรงไปถึงคุณด้วยใจนอบน้อมจริงๆ จะเห็นได้จากประวัติเรื่องราวที่กล่าวยกย่องครูส่วนมากก็จะเอ่ยว่า ท่านใดศักดิ์สิทธิ์อย่างไร เก่งกาจอย่างไรในพระเวทย์ แม้การกล่าวประวัติความเป็นมาของครูสายภิกษุสงฆ์ก็มักจะเอ่ยอ้างถึงคุณวิเศษแห่งฤทธิ์ซึ่งต้องการสื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ การเคารพของคนส่วนหนึ่งจึงเคารพเพราะความศักดิ์สิทธิ์เป็นสำคัญในจิตใจ
คุณธรรมกับความศักดิ์สิทธิ์นั้นมันห่างไกลกันคนละความหมาย เพียงแต่มีอุปการะเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ผู้ที่อบรมตนด้วยคุณธรรมย่อมเป็นเหตุให้เข้าถึงคุณวิเศษ(คุณพิเศษ) ด้วยความพิเศษแห่งคุณนี้เราก็ถือเอาว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ จึงเคารพหมอบกราบที่ความศักดิ์สิทธิ์ แต่กลับเข้าไม่ถึงคุณธรรมแท้จริงของท่านครูเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่คนบางส่วนที่ถือความศักดิ์สิทธิ์ จะได้มองข้ามคุณธรรม จึงมีส่วนน้อยจะเอ่ยอ้างยกย่องครูที่พร่ำสอนตน เพราะครูปัจจุบันที่พร่ำสอนไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ในใจ เป็นแค่ผู้ให้ความรู้ในความสำนึกเท่านั้น คนเหล่านี้จะไม่เกรงกลัวคำครู แต่จะเกรงกลัวความศักดิ์สิทธิ์ของครูเก่าก่อน ยิ่งได้ยิ่นว่าท่านขลังก็ยิ่งเคารพยำเกรง แต่กับครูที่พร่ำสอนตนกลับไม่เคารพเชื่อฟัง
ด้วยภูมิปัญญาครูเก่าท่านที่รู้และผ่านเรื่องเหล่านี้มาก่อนจึงผูกปริศนาไว้สอนคน ว่าการเคารพกราบไหว้ก็ควรให้เคารพที่คุณเสมอเหมือนกัน ไม่ว่าครูแก่เก่าก่อนหรือครูปัจจุบัน ผ้าขาวนั้นจึงเปรียบผู้ที่มีเพียงคุณความดีที่บริสุทธิ์ที่เหลือฝากไว้ ผ้าแดงนั้นคือครูผู้ที่ยังมีเลือดเนื้อสีแดงไหลเวียนที่ยังคอยพร่ำสอนศิษย์ให้เจริญในสัพพะวิชชา ผ้าขาวรองรับผ้าแดงที่วางทับซ้อนหมายถึงแรงครู วิญญาณผีครูเทวดาครูคอยหนุนส่ง ผ้าแดงรองกลวยดอกไม้ที่เป็นสิ่งแทนความหมายของรูปนาม ของตัวผู้เล่าเรียน อันหมายความว่าครูผู้สอนสั่งยกยอเราให้มีความเจริญในวิชชานั่นเอง
ซึ่งเราจะเห็นว่า สิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงคุณธรรมอันดีที่ความเป็นครูและศิษย์มีแก่กัน เป็นสายใยแห่งความดีงามที่คนโบราณสอนให้เรารู้จักสำนึกคุณความดีของผู้อุปการะคุณ ไม่ได้มุ่งเน้นให้คนงมงายแต่ในความศักดิ์สิทธิ์ ผมพิจจารนาแล้วเห็นอย่างนั้น เห็นแต่การสรรเสริญความศักดิ์สิทธิ์ สุดท้ายก็ยกความศักดิ์สิทธิ์ว่าเป็นของตัวไป น้อยนักที่จะซาบซึ้งถึงบุญคุณของผู้มีคุณด้วยใจบริสุทธิ์แท้จริง 


 จิตสำนึกไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ  แต่จะเกิดขึ้นได้เพราะบุคคลนำมาสร้างเหตุ นำมาคิดพิจจารณาถึงความอุปการะที่ได้รับจากครูผู้สั่งสอน  การหมอบกราบในหลักคำสอนทางศาสนาพุทธนั้น  เป็นหลักคารวตา

คารวะ หรือ คารวตา 6 (ความเคารพ, การถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพึงใส่ใจและปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจัง, การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแล้วปฏิบัติต่อบุคคลหรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง ด้วยความจริงใจ)
       1. สัตถุคารวตา (ความเคารพในพระศาสดา ) ข้อนี้บางแห่งเขียนเป็น พุทธคารวตา (ความเคารพในพระพุทธเจ้า )หมายถึงความเคารพใน  พระมหากรุณาธิคุณ   พระปัญญาธิคุณ  พระบริสุทธิคุณ เป็นอเนกอนันต์
       2. ธัมมคารวตา (ความเคารพในธรรม )  คือการศึกษาปฏิบัติด้วยความเคารพ
เป็นอเนกอนันต์
       3. สังฆคารวตา (ความเคารพในสงฆ์)   พระสงฆ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม และเป็นผู้นำทางจิตใจ คฤหัสถ์ย่อมบำรุงพระสงฆ์ ผู้มีคุณด้วยหลักห้าประการ ดังนี้
           1) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
           2) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
           3) จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
           4) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
           5) อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4
        4. สิกขาคารวตา (ความเคารพในการศึกษา )
       5. อัปปมาทคารวตา (ความเคารพในความไม่ประมาท)
       6. ปฏิสันถารคารวตา (ความเคารพในปฏิสันถารการต้อนรับไปมาหาสู่กัน)

ตามที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นข้อศึกษา  ให้เราทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดจิตสำนึก  แล้วลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้องตามธรรม  ตามหน้าที่
ผู้ถือไสย์เวทย์หากทำไม่ถูกก็จะยิ่งก่อเกิดโทษเป็นบาปกรรมทำความเสื่อมแก่ตน  ด้วยความที่ยึดถือผิดๆ แล้วกระทำตนผิดจากคุณธรรมอันดีงาม  ความศรัทธานั้นไม่ใช่เรื่องผิด  ที่จะผิดนั้นเพราะศรัทธาที่มีไม่ประกอบด้วยปัญญา  พระพุทธศาสนาเรียกความเห็นผิด ( มิจฉาทิฏฐิ)   แม้เราจะร่ำเรียนพระเวทย์คาถาซึ่งมีจุดเด่นเรื่องความอัศจรรย์อภินิหารย์  แต่จุดมุ่งหมายแท้จริงของครูผู้สอน  ที่มีสัมมาทิฏฐิ ท่านวางกลวางแบบอย่างเหล่านี้เพื่อจะได้เป็นอุบายวิธีชักนำคนเข้าหาพระธรรมที่ถูกต้อง  ไม่ได้มุ่งหวังให้เรางมงายในความขลังศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างเดียว  เพราะแท้แล้วบรมครูทุกๆท่านที่เราเคารพนั้น  ทุกท่านล้วนก่อร่างคุณวิเศษเริ่มมาจาก  คุณธรรมกันทั้งสิ้น  คือประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมคำสอนที่ถูกตรง  จนเกิดคุณวิเศษที่เป็นผลพลอยได้นั้นมา  แสดงให้เราเกิดศรัทธา เพื่อจะได้นำพาเราให้เข้าถึงการปฏิบัติอันเป็นความหมดจดอย่างแท้จริง   
ฉนั้น  การเคารพกราบไหว้  ขอให้เราท่านตรึกตรองให้ดีว่าเราเคารพตามแบบอย่างพระธรรมคำสอนใหม  หรือเราเองยังหมอบกราบตามลัทธิ เทวนิยมกันอยู่

ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิ

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อาถรรพ์แรงครู

อาถรรพ์แรงครู

เรื่องอาถรรพ์แรงสาปแช่งครูนั้นเป็นสิ่งเล้นลับ  น่าสะพรึงกลัว  ผู้ใดต้องคำสาปแช่งสาบานแล้วไม่ใช่สิ่งจะมาถอดถอนกันได้ง่ายๆ  ยิ่งถ้าถูกต้องเข้าไปแล้ว  มันก็ต้องรับเวลรับกรรมกันไปจนจะสิ้นสุดเลยทีเดียว  อุปมาเหมือนคนปวดอุจจาระ  เมื่อปวดแล้วก็ต้องขับถ่ายออก  ต่อเมื่อได้ขับถ่ายออกเสร็จสิ้นนั้นแหละ  ความทรมานแห่งอาการจึงจะหายไป   กรรมปาบหยาบช้าก็เช่นกันเมื่อมันแสดงผลเมื่อใด  ผู้ทำกรรมก็ต้องรับผลกรรมนั้นจนกว่าจะหมดกำลังแห่งผลบาปกรรมนั้น   เราท่านก็ควรตระหนักให้จงดีต่อเมื่อจะทำกรรมอันใดลงไป  จงใช้สติปัญญาใคร่ครวญให้รอบคอบถึงผลแห่งกรรมที่จะตามมา  ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วแน่นอน  จะให้ผลช้าหรือเร็วเท่านั้น   เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ออกดอกผลได้ช้าเร็วต่างกัน  บางชนิดออกดอกผลได้เร็ว  บางชนิดใช้เวลานับแรมปีหรือหลายปีกว่าจะเติบโตให้ผล  กรรมดีหรือชั่วที่เรากระทำลงไปนั้นก็อุปมาได้อย่างนั้น  คนทำชั่วบางทีที่ยังไม่ได้รับผลกรรมชั่ว  แต่กลับเสวยความสุขอยู่  นั้นเป็นเพราะกรรมดีบุญเก่ายังให้ผลไม่เสร็จ  ต่อเมื่อหมดบุญเก่า  บาปกรรมก็จะมีช่องทางให้ผลในทันที่
 เรื่องของอาถรรพ์   แรงสาปแช่งครูก็เช่นกัน  แรงสาปแช่งเกิดจากคนที่เล่าเรียนตำราพระเวทย์  เป็นคนอักตัญญูต่อครูบาอาจารย์ผู้สอนสั่งสรรพวิชชาให้  ทำความเสื่อมเสีย  ทำความย่ำยีตำราครู  เหยียบย่ำดูถูก  ลบหลู่ประมาท   ไม่สำนึกในคุณผู้อุปการะตน  บ่างก็ถือข้อห้ามไม่ได้นำวิชชาพระเวทย์ไปสร้างบาปกรรมแก่คนอื่นเสื่อมเสียมาถึงครู  บ่างก็เหยียบย่ำไม่เชื่อฟังคำตักเตือนบอกกล่าวสั่งสอนของครู  โกรธเกลียดลบหลูดูถูกเหยียบย่ำน้ำใจ   ผู้ที่สั่งสอนความรู้ให้    บางคนซ้ำร้ายเณรคุณกร่นด่าลบหลูดูถูกครูตนว่าไม่ดีต่างๆนาๆ  ข้อห้ามที่ได้รับสัจจะวาจาก็ถือปฏิบัติไม่ได้   สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้ต้องอาถรรพ์แรงสาปแช่งครูทั้งสิ้น   มีเป็นอันมากที่บางคนตั่งตนเป็นครูรู้เองสำเร็จเอง  ทั้งยังถือดีว่าเก่งกว่าครูดีกว่าครู  อย่างนี้ก็มีให้เห็นกันมาก  โดยที่คนเหล่านี้ไม่กลัวเกรงต่ออาถรรพ์แรงวิชชา   นั้นเพราะผลมันยังไม่เกิดจึงคิดว่าไม่เป็นไร  บางจำพวกก็กร่นด่าสำนักอื่นว่าเลวว่าทำผิดว่าไม่ดี ว่าไม่เก่ง ว่าเป็นของปลอม  โจมตีลบหลูกันสาระพัด  โดยคิดว่าตนเองทำถูกแล้ว   แท้ที่จริงผู้เรียนพระเวทย์ท่านห้ามประมาทครูตนและครูคนอื่น   ที่ห้ามประมาทครูคนอื่นสำนักอื่น   ท่านกันความบาทหมางสร้างศรัตรูอย่างหนึ่ง  เพราะเราลบหลู่เขา  เขาก็ต้องเกลียดเราทั้งที่เป็นคนด้วยกัน  และที่สำคัญคือท่านที่เรามองไม่เห็น  เราไปลบหลู่ผีครูเทวดาครูเขาก็ต้องเกลียดเราด้วย  และสาปแช่งเราด้วย  ถึงคราอัปจนเราก็สามารถถูกท่านเหล่านี้ซ้ำให้เดือดร้อนยิ่งขึ้น   ที่คนโบราณว่าผีซ้ำด้ามพรอย  
อาถรรพ์วิชชานั้น  บางตำราผู้ที่เล่าเรียนและถือปฏิบัติไม่ได้   อย่างแรง   ตายห่า  ตายโหงก็มี    เบาหน่อยก็เป็นบ้าบอเสียจริต   ร้อนรนในจิตในใจ   จิตใจเร่าร้อนร่างกายทุกข์ทรมาน เหตุเพราะธาตุไฟกำเริบ     บ่างก็ชีวิตเดือดร้อนมีแต่ความล้มเหลว  ทำมาหากินไม่ขึ้น  มีเหตุต่างๆเข้ามาในชีวิตซ้ำเติมให้เราเป็นทุกข์  ที่ยกตัวอย่างมานี้เพียงเล็กน้อย เท่านั้น 
 วิชชาครูใหนที่มีความขลังมากก็จะยิ่งมีแรงอาถรรพ์มาก  เปรียบเหมือนกระแสไฟฟ้า  ให้คุณได้มากก็ให้โทษอนันต์เช่นกัน   ผู้ที่เรียนพระเวทย์รุ่นใหม่ทุกวันนี้บางคนก็ต้องแรงครูไม่รู้ตัว  เป็นเพราะทำไม่ถูกตามขนบธรรมเนียมโบราณ  คิดว่ามีคาถามาท่องมันก็ขลังได้   จึงแสวงหามาอ่านมาท่อง  ซื้อมาบ่าง  ลักลอบขายตำราให้กันบ่าง  แจกตำรากันสนั่นหวั่นไหวเลยทีเดียว  เพราะเข้าใจว่าให้ความรู้ได้บุญ  เรียกว่าวิทยาทาน   ทั้งที่ให้กันก็บอกแต่ตัวคาถาให้เอาไปท่องกันตามความเข้าใจ   สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาล้วนมีโอกาสต้องแรงครูได้ทั้งสิ้น   
การเล่าเรียนวิชชานั้น  ทุกวิชชาล้วนมีครู  มีขนบธรรมเนียมในการปฏิบัติกันทั้งสิ้น  มีขันครูข้อห้าม  ให้ยึดถือปฏิบัติตาม   ถ้าทำไม่ถูกไม่ครบก็เกิดโทษได้  ยิ่งถ้าครูมาจับแล้ววิชชามันเกิดผล  แต่กลับไม่ได้ยึกถือในการปฏิบัติที่ถูกก็ทำให้เดือดร้อน   บางคนเอามาสักมาเสกเองไม่รู้ขั้นตอนปฏิบัติ  เข้าใจว่ามีคาถาเป่ามีฝีมือสักได้ก็ทำไปตามความเข้าใจตนเอง  ตั่งเงินครู  กินเงินครูเอาตามใจชอบ   อย่างนี้ก็มีมาก  เป็นเหตุให้เดือดร้อนได้  
ฉนั้น  
 เรื่องแรงอาถรรพ์วิชชานั้นเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังให้จงดีสำหรับผู้ไฝ่เรียนพระเวทย์  เรียนแล้วลบหลูดูถูกครู  ถือดีว่าตนเก่งกล้าสามารถ  ลืมบุญลืมคุณ  กลัวครูได้ดีกว่าตน กลัวครูแย่งลาภผลของตน  ไม่เชื่อฟังคำสอนคำตักเตือน   นำวิชชาไปทำบาปกรรม เป็นต้น   สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้เดือดร้อนชิบหายภายหลังได้ทั้งสิ้น   การเล่าเรียนตำราต่างๆ   คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงสอนให้เราต้องเป็นผู้กตัญญูรู้คุณและรู้จักตอบแทนบุญคุณผู้อุปการะตน  ท่านทั้งหลายอย่าได้เห็นแก่ลาภชื่อเสียงจอมปลอม  ลุ่มหลงว่าดีเลิศกว่าความเป็นศิษย์ที่ดี      ถึงเราไม่ทดแทนคุณครูก็จงอย่าประมาทลบหลู

ครูน้อย  นารายณ์พลิกแผ่นดิน 
 

เคล็ดวิธีฝึกสัมผัสโลกทิพย์(คำสอนท่าน อ.บุญชู)

เคล็ดวิธีฝึกสัมผัสโลกทิพย์(คำสอนท่าน  อ.บุญชู)

เรื่องของการฝึกสมาธิ ในข้อความนี้ก็จะแนะนำให้ท่านใช้ประโยชน์ในการฝึก ในคุณประโยชน์ของการฝึก ว่าใช้อะไรบ่าง
 ณ. ที่นี้ก็จะให้รู้ถึงการใช้ประโยชน์ในการสัมผัสกับดวงวิญญาณ หรือ โลกทิพย์ ที่เป็นสัมภะเวสี หรือเทพครู หรือทวยเทพต่างๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารทางจิตวิญญาณ
ก่อนอื่นก็ต้องทำการฝึกให้ได้กำลังสมาธิเสียก่อน ในการกำหนดองค์นิมิตร ให้เราทำจิตใจให้สงบ สืบลมเข้ายาว  ออกยาว สำรวมจิตให้สงบ  แล้วเข้าสู่อารมณ์ที่ช่องว่าง โดยใช้หลักการหยุดลม ทำใจจดจ่อกำหนดเอาอาการความรู้สึกนิ่งสงบนั้นไว้ ประคองอารมณ์อย่าให้ไปคิดเรื่องภายนอก แล้วตั่งความคิดให้เห็นภาพที่แสดงตรงหน้าเราเป็นจอภาพว่างเปล่า ให้กำหนดฝึกอย่างนี้จนชำนาญ จิตใจเราจะโล่งสบายผ่อนคลาย เมื่อจะกลับสู่ภาวะรูปก็ให้ทำความรู้สึกมาที่ลมหายใจเหมือนเดิม อย่างนี้
เมื่อเราฝึกจนคุ้นเคยกับอารมณ์ว่างได้ เมื่อเราจะใช้กำหนดโลกทิพย์ ก็สามารถตั่งอธิฐานชั่วขณะ แล้วเข้าสู่อารมณ์ว่างนั้น การกำหนดจิตให้เราทำความรู้สึกเปิดรับสิ่งที่ผ่านเข้ามาในรอบรัสมีจิตของเรา เหมือนเราเอากระจกตั่งไว้ อะไรผ่านมาก็มองเห็น ห้ามใช้จิตที่อยากรู้อยากเห็นในการกำหนดหา เพราะถ้าต้องการเห็นจะไม่เห็น  ยิ่งจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน วางใจเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย เห็นก็ชั่งไม่เห็นก็ช่าง ถ้าเขาต้องการให้เราสำผัสเราจะสัมผัสได้เอง อาจมาในรูปภาพเพียงเเวบเดียว หรือเป็นภาพเงาคนเคลื่อนไหว ถ้าเป็นเทพจะมีแสงเรืองรองรอบตัว ถ้าเป็นสัมพะเวสีจะเป็นเงาดำ บางคนอาจได้กลิ่นด้วย เป็นเทพก็กลิ่นหอม เป็นผีก็กลิ่นสาบเหม็น บางคนก็จะสามารถสื่อภาษาจิตกับเขาได้ แต่ในการสำผัสจะขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิที่เราฝึก ถ้ามีมากก็จะชัดเจนบางทีมีน้อยก็ไม่ชัดและเพียงชั่วครู่ ถ้าเรายิ่งอยากรู้เพิ่มก็ยิ่งหาไม่เจอ
ก็ฝากเป็นการบ้านการปฏิบัติให้ทุกท่านได้ฝึกตามเด้อ
  สอนพอบอกได้ก็มาอธิบายให้กันฟังและทำตาม เพื่อจะได้มีกำลังใจในการฝึก และในบางอย่างเราเอาตาเนื้อพิสูจไม่ได้ แต่เราใช้ตาใจพิสูจได้ ของทิพย์บางอย่างเราอาจมองด้วยตาและตัดสินตามที่เห็น แต่ผู้มีญานการกำหนดท่านจะรู้และทราพเอง ไม่มีใครเอาของปลอมมาหรอกท่านได้หรอก ถ้าของทิพจริงจะมีเทพมีครูท่านตามรักษา ถ้าเปรียบก็เหมือนเสาต้นหนึ่งๆ ที่รับคลื่นจากแหล่งกำเนิดพลังงานนั่นเอง
ทีนี้ถ้าท่านฝึกได้ก็ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาหลอกเรา เพราะตาใจมันเห็น ตั่งใจฝึกจิต รักษาศีล ทำสมาธิ ฟังธรรมให้เกิดปัญญา แล้วท่านจะเจริญในวิชชาเอง อย่างลืมด้วย ในเวลาทำดีให้อธิฐานบารมีด้วยว่าเราต้องการอะไร แล้วเราจะได้จะเป็นอย่างที่ต้องการ....สาธุๆๆ
* ผล เกิด จากเหตุ แม้ไม่ต้องการผล ต่อเมื่อสร้างเหตุได้พอ ผลย่อมมีเอง คุณวิเศษต่างๆก็เช่นกัน แม้ไม่อยาก แต่ถ้าทำถูกเหตุจนพอ ผลย่อมปรากฏเอง...!




ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

วิชชาพระลักษณ์หน้าทอง

เหตุจำเป็นอย่างไรจึงต้องครอบหน้ากากพระลักษณ์หน้าทอง

หน้ากากพระลักษณ์ที่ทำขึ้นมาประกอบด้วยมวลสารที่สะสมมาหลายชนิดที่มีคุณต่างๆกันตามเนื้อว่านและมวลสารนั้นๆที่มีคุณเฉพาะตัว  และได้บรรจุตระกรุด  นะหน้าทองที่มีคุณด้านเสน่ห์เมตตาคงกระพันอยู่ในยันต์ลูกเดียว  ปลุกเสกตามจารีตประเภณีที่ได้รับการสืบทอดมาจากครูบาอาจารย์  ฉนั้นหน้ากากที่ท่านได้บูชาไปนี้  มีพุทธคุณด้าน  เสน่ห์ เมตตา  มหานิยม   แคล้วคลาดคงกระพัน  การบูชาและนำไปใช้ประกอบพิธีกรรมให้แก่ตนและคนอื่นก็ได้ให้ไว้แก่ผู้บูชาไปแล้ว   การบูชานั้นเป็นความสำคัญว่าให้เราปฏิบัติตามสูตรตามตำราที่ได้สอนไปให้ได้ผลประจักแก่ตนเสียก่อนแล้ว  จึงค่อยนำไปทำให้บุคคลอื่นที่มีความศรัทธาในเรา  ถึงจะเกิดผลได้จริง   การทำให้ตนเองหรือคนอื่นนั้นก็ต้องตั่งสัจจะอธิฐานตามแต่ใจปรารถนา  เช่นเมื่อกระทำให้คนอื่นเพื่อจะให้การค้าหรือติดต่อธุระกิจเกิดความราบรื่น  เราก็ให้ผู้ที่เป็นศิษย์อธิฐานด้วยใจแน่วแน่มั่นคง  มีศรัทธาต่อครูด้วยใจบริสุทธิ์   และผู้ครอบหน้ากากก็ต้องทำจิตให้เกิดสมาธิท่องสูตรตามลำดับที่ได้กล่าวไว้ในหลักวิธีปฏิบัติ    สิ่งสำคัญที่จะทำให้สำฤทธิ์ผลก็ขึ้นอยู่ที่ขั้นตอนนี้   คือผู้ครอบหน้ากากต้องน้อมจิตให้เกิดสมาธิ  น้อมใจให้เกิดภาพนิมิตว่าผู้ที่เราครอบหน้ากากให้นั้น  ใบหน้างามผุดผ่องมีเสน่ห์  เป็นสง่าราศีเด่นชัดในจิตของเรา  ด้วยเหตุนี้ผุ้ครอบจึงต้องใช้หน้ากากเป็นสิ่งที่ให้น้อมนึกถึงนิมิตได้   รวมความว่า  เวลาเราครอบหน้ากากก็ต้องนึกถึงนิมิตหน้ากากงามผุดผ่องเป็นอันเดียวกับใบหน้าลูกศิษย์ที่เราครอบให้  ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะเกิดผลได้สมบูรณ์  หน้ากากพระลักษณ์นั้นที่สร้างขึ้นก็เพื่อเป็นอุบายให้เราสามารถใช้เป็นนิมิตเพื่อรวมใจเราให้เป็นหนึ่งเดียวให้เกิดกำลังสมาธิ  และเป็นผลได้ตามอธิฐานและแรงครูวิชชา  พระลักษณ์หน้าทอง    ฉนั้นผู้ที่บูชาไปแล้วก็ให้หมั่นฝึกฝนทำสมาธิด้วย ทำให้ตนเองให้ได้ผลเสียก่อนก็ค่อยอุปการะคนอื่นจึงจะเหมาะสม


ข้อห้ามวิชชานี้คือ  ห้ามทำผิดประเวณีลูกและเมียคนอื่นเด็ดขาด

ครูน้อย  นารายณ์พลิกแผ่นดิน
 

ความแตกต่างระหว่างขนาด A3กับA4

ความแตกต่างระหว่างขนาด A3กับA4
 ผืนใหญ่กว่าจะเป็นขนาดA3ที่เหมาะทำลงหลังเสื้อยันต์ ขนาดA4เหมาะทำผ้ายันต์ การทำผ้ายันต์แนะนำว่าควรเผื่อให้ลูกศิษย์สามารถนำไปใส่กรอบบูชาได้สวยงาม หรือจะนำติดตัวก็ทำได้ ฉนั้นสองขนาดนี้จึงเหมาะ ถ้าเล็กกว่านี้รายละเอียดจะไม่ค่อยชัดเจน
ถ้าใครจะทำก็แนะนำสองขนาด
ส่วนผ้ายันต์ขั้นต่ำก็50ผืนขึ้นไป อันนี้ไม่คิดค่าออกแบบ แต่ถ้าต้องการแค่ให้ออกแบบให้ก็แบบละ1,000บาท โดยที่ไม่เอาผ้ายันต์ท่านจะเอาไปทำอย่างอื่นได้ตามแต่จะเอาไปทำ(แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิทธิ์ขาดในลายยันต์ เหมือนบางคนผมออกแบบให้ก็จะมาห้ามไม่ให้ผมเอารูปไปทำให้คนอื่น ถ้าอย่างนั้นก็ไม่รับทำให้นะครับ รูปผมวาดผมออกแบบมันสิทธิ์ของผม ยันต์ท่านยังสักให้ลูกศิษย์ซ้ำไปมาได้เลย บางคนออกแบบให้แล้วก็ไม่เอาก็มี ผมก็มาเสียเวลาทำให้เปล่าๆ เป็นระดับครูอาจารย์ด้วยซ้ำ แต่ไม่ใช่ลูกศิษย์ผม เพราะถ้าลูกศิษย์เขาเชื่อใจครูอยู่แล้ว ฉนั้นทำอะไรคิดถึงใจเขาใจเราเด้อ..!
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน.


 เปรียบเทียบขนาดA3กับA4


ขนาดกระดาษA3


ขนาดกระดาษA4


ขนาดA3ปั้มลงเสื้อแล้ว   

การหาฤกษ์งาม-ยามดี

การหาฤกษ์งาม-ยามดี 
ฤกษ์  คือการกำหนดเอา  ข้างขึ้นหรือข้างแรม  ในวันทั้งเจ็ดตรงกับเดือนทั้งสิบสองเดือนในแต่ละปี  ที่คนโบราณคำนวนและตั่งเป็นเกณแล้วว่าเป็นฤกษ์ดีและไม่ดี
ยาม  คือ  เวลาในแต่ละวันที่กำหนดไว้แล้วตามหลักคำนวนของคนโบราณเป็นเกณว่าดีและไม่ดี
ทั้งฤกษ์และยามนี้ใช้มากำหนดในการประกอบพิธีกรรมอันเป็นมงคลต่างๆเพื่อส่งเสริมให้เกิดความเป็นศีริมงคลแก่พิธีกรรมและหลีกเลี่ยงวันและเวลาที่ไม่เหมาะสมอันจะก่อให้เกิดความเสียหายตามคติความเชื่อโบราณ    สามารถดูได้ตามข้อมูลนี้  เป็นข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในหนังสือประเภณีอีสารที่ท่านมหาปรีชาพินทองได้รวบรวมไว้
  • วันจมวันฟู วันจมคือวันไม่ควรทำการอันเป็นมงคลต่างๆ ทุกอย่าง เพราะจะนำไปสู่ความล่มจมหายนะ ต้องทำการในวันฟูคือวันที่เฟื่องฟู นำไปสู่ความก้าวหน้า ควรทำการมงคลในวันนี้ วันจมและวันฟูรู้ได้อย่างไร โบราณท่านได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานดังนี้
เดือน
วันจม
วันฟู
อ้าย (เดือน ๑)
วันศุกร์
วันจันทร์
ยี่ (เดือน ๒)
วันเสาร์
วันอังคาร
สาม, แปด
วันอาทิตย์
วันพุธ
สี่, เก้า
วันจันทร์
วันพฤหัสบดี
ห้า, สิบ
วันอังคาร
วันศุกร์
หก, สิบเอ็ด
วันพุธ
วันเสาร์
เจ็ด, สิบสอง
วันพฤหัสบดี
วันอาทิตย์
  •  
  • วันอมุตโชค คือวันที่เป็นมงคลยิ่ง เป็นวันที่เชื่อกันว่าเยี่ยมยอดด้วยโชค ดังนั้นการประกอบพิธีต่างๆ นอกจากจะให้ตรงกับวันฟูวันจมแล้ว ยังต้องให้ตรงกับวันอมุตโชคนี้ด้วย จึงจะได้ชื่อว่าได้รับมงคลยิ่ง การศึกษาวันอมุตโชคให้ยึดข้างขึ้นข้างแรมที่ตรงกับวันต่างๆ ไม่ว่าจะในสัปดาห์ และเดือนใดก็ตาม ดังนี้

อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
ข้างขึ้น (ค่ำ)
8
3
9
2
4
1
5
ข้างแรม (ค่ำ)
8
3
9
2
4
1
5
  •  
  • วันดีถีทั้งห้า คือ วันที่พระจันทร์ประกอบด้วยฤกษ์ที่เป็นมงคล 5 ดวง และแต่ละดวงก็จะอำนวยผลต่อสิ่งที่เรากระทำต่างประเภทกัน วันดิถีทั้งห้าเราจะรู้จากวันขึ้นแรมของทุกเดือน ที่ตรงกับวันต่างๆ ดังนี้
ชื่อดิถี
วัน
ข้างขึ้น-แรม (เดือน)
การกระทำ
ไชยดิถี
อังคาร
3-8-13 ค่ำ
เหมาะสำหรับการสรงน้ำคุด ขอ นอ งา และให้ออกทัพจับศึก
ภัทรดีถี
พุธ
2-7-12 ค่ำ
เหมาะสำหรับการให้ยศ ให้ตำแหน่ง และฉลองศักดินาตราตั้ง
ปุณณดิถี
พฤหัสบดี
5-10-15 ค่ำ
เหมาะสำหรับการประกอบการค้าและปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร
นันทดีถี
ศุกร์
1-6-11 ค่ำ
เหมาะสำหรับการปลูกเรือนย้าวท้าวพระยา
มิตตะดิถี
เสาร์
4-9-14 ค่ำ
เหมาะสำหรับการเจริญทางการทูต ผูกเสี่ยว การสู่ขวัญต้อนรับ
  •  

ดิถีมหาโชค
ดิถีมหาโชค การทำงานมงคลทั้งการแต่งงาน ปลุกบ้านเฮือนใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ เฉลิมฉลองใดๆ ให้เลือกทำและละเว้นตามวันในตารางข้างล่างนี้
วัน
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัส
ศุกร์
เสาร์
ดิถี
คำทาย
ขึ้น-แรม (เดือน)
8
3
9
2
4
1
5
อำฤตโชค
ดี
ขึ้น-แรม (เดือน)
11
5
14
10
9
11
4
สิทธิโชค
ดี
ขึ้น-แรม (เดือน)
14
12
13
4
7
10
15
มหาสิทธิโชค
ดี
ขึ้น-แรม (เดือน)
8
3
13
10
4
1
11
ชัยโชค
ดี
ขึ้น-แรม (เดือน)
6
3
9
6
12
1
5
ราชาโชค
ดี
ขึ้น-แรม (เดือน)
1
4
6
9
5
3
7
ทึกทึน
ชั่ว-ร้าย
ขึ้น-แรม (เดือน)
4
6
1
3
8
7
1
ทรธึก
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
12
11
7
13
6
8
9
ยมขันธ์
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
4
6
1
3
3
9
1
อัตนิโรจน์
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
1
2
10
7
1
6
6
ทินกาล
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
12
10
15
8
5
7
8
ทินสูญ
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
4
6
1
3
8
9
10
กาฬโชค
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
4
2
7
5
8
3
6
กาลสูญ
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
12
11
10
9
8
7
1
กาลทัณฑ์
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
4
6
10
9
8
9
1
โลกวินาส
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
4
8
6
4
8
8
9
วินาสส์
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
6
10
8
7
2
9
12
พิลา
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
9
1
10
9
8
7
6
มฤตยู
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
7
8
4
7
1
14
14
วันบอด
เลว
ขึ้น-แรม (เดือน)
5
6
10
8
11
5
7
กาลทีน
เลว
การเลือกทำและละเว้นให้ดูวันในแต่ละเดือนว่าดี หรือเลว ดีให้เอา เลวให้ละเว้น และถ้าไปตรงกับวันจมแม้จะเป็นวันอำฤตโชคก็ให้เว้นด้วย เช่นกัน
ดิถีมหาสูญ
ถ้าเดือนต่อไปนี้ ตรงกับวันขึ้น-แรม (เดือน) ดังตารางถือว่าเป็นวันมหาสูญ แม้ว่าบางครั้งวันขึ้นแรมจะตรงกับ 5 ช่องแรกของวันดิถีมหาโชค แต่วันในสัปดาห์ไม่ตรงกันก็ถือว่า เลว จึงห้ามประกอบพิธี หรือการงานมงคลทั่วไป
เดือน
ขึ้น-แรม/ค่ำ
เดือน
ขึ้น-แรม/ค่ำ
6-3
4
7-10
8
8-5
6
11-2
12
9-12
10
4-1
2

ฤกษ์เดินทาง
เวลาจะเดินทางไปทำการมงคล หรือประกอบธุรกิจอะไร ห้ามไปหรือเดินทาง หรือนั่งหันหน้าไปในทิศทางที่ผีหลวง หรือหลาวเหล็กอยู่ ควรหันหน้าไปในทิศที่เทพเจ้าอยู่ ถ้าจำเป็นต้องเดินทางก็ให้เดินทางไปในทิศทางที่เทพเจ้าอยู่ก่อนแล้ว ค่อยโค้งคืนมาในทิศทางไม่ดีนั้น ผีหลวงหลาวเหล็ก หรือเทพเจ้าอยู่ประจำทิศต่างๆ กัน ตามวันดังนี้
วัน
เทพเจ้าอยู่ทิศ
หลาวเหล็กอยู่ทิศ
ผีหลวงอยู่ทิศ
อาทิตย์
ตะวันออกเฉียงใต้
ตะวันตก
ตะวันออกเฉียงเหนือ
จันทร์
ตะวันตก
ตะวันออก
ตะวันออก
อังคาร
ตะวันตกเฉียงใต้
เหนือ
ตะวันออกเฉียงเหนือ
พุธ
ใต้
เหนือ
เหนือ
พฤหัสบดี
เหนือ
ใต้
ใต้
ศุกร์
ตะวันออก
ตะวันตก
ตะวันตก
เสาร์
ตะวันตกเฉียงเหนือ
ตะวันออก
ตะวันออกเฉียงใต้

ทิศและยามดีประจำวัน
ถ้าต้องการจะเดินทางไปทำการค้าขาย ทำธุรกิจยังต่างถิ่นต่างที่ ควรจะเลือกเวลาในการเดินทาง และทิศทางเดินออกจากเคหสถานเพื่อโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น ดังนี้
วัน
ชื่อยาม
เวลาดี
ทิศดี
อาทิตย์
ยามศุกร์
07.30 - 09.00 น.
เหนือ
ยามพุธ
09.00 - 10.30 น.
ทุกทิศ
ยามจันทร์
10.30 - 12.00 น.
ตะวันตก
จันทร์
ยามเสาร์
07.30 - 09.00 น.
เหนือ
ยามพฤหัส
13.30 - 15.00 น.
ทุกทิศ
ยามศุกร์
15.00 - 16.30 น.
ทุกทิศ
ยามพุธ
16.30 - 18.00 น.
ทุกทิศ
อังคาร
ยามศุกร์
09.00 - 10.30 น.
เหนือ
ยามพุธ
10.30 - 12.00 น.
ตะวันตก
ยามจันทร์
12.00 - 13.30 น.
ตะวันออก
ยามเสาร์
13.30 - 15.00 น.
เหนือ
ยามพฤหัส
15.00 - 16.30 น.
ทุกทิศ
พุธ
ยามพุธ
06.00 - 07.30 น.
ทุกทิศ
ยามจันทร์
07.30 - 09.00 น.
ทุกทิศ
ยามพฤหัส
10.30 - 12.00 น.
ทิศเหนือ
ยามศุกร์
15.00 - 16.30 น.
ทิศตะวันออก
ยามพุธ
16.30 - 18.00 น.
ทุกทิศ
พฤหัสบดี
ยามพฤหัส
06.00 - 07.30 น.
ทุกทิศ
ยามอาทิตย์
09.00 - 10.30 น.
ทุกทิศ
ยามศุกร์
10.30 - 12.00 น.
ทุกทิศ
ยามพุธ
12.00 - 13.30 น.
ทุกทิศ
ยามจันทร์
13.30 - 15.00 น.
ทุกทิศ
ยามพฤหัส
16.30 - 18.00 น.
ทิศอุดร
ศุกร์
ยามศุกร์
06.00 - 07.30 น.
ทุกทิศ
ยามพุธ
07.30 - 09.00 น.
ทุกทิศ
ยามจันทร์
09.00 - 10.30 น.
ทิศตะวันออก
ยามเสาร์
10.30 - 12.00 น.
ทุกทิศ
ยามพฤหัส
12.00 - 13.30 น.
ทุกทิศ
ยามอังคาร
13.30 - 15.00 น.
ทิศเหนือ
ยามศุกร์
16.30 - 18.00 น.
ทุกทิศ
เสาร์
ยามพฤหัส
07.30 - 09.00 น.
ทุกทิศ
ยามศุกร์
12.00 - 13.30 น.
ทุกทิศ
ยามพุธ
13.30 - 15.00 น.
ทุกทิศ

ดิถีฤกษ์ห้ามกระทำมงคล
โบราณาจารย์อีสานท่านกล่าวไว้ว่า สงฆ์ 14 นารี 11 สมรส 7 เผาศพ 15 นั้น ไม่ดีเลย ห้ามกระทำเด็ดขาด ความหมายของคำกล่าวนี้ คือ
1.        สงฆ์ 14 ในที่นี่ตัวเลข 14 หมายถึงวันข้างขึ้นหรือข้างแรม 14 ค่ำ มิได้หมายถึงจำนวนพระสงฆ์ 14 รูป ดังนั้นการกระทำกิจการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรม เช่น การขึ้นบ้านใหม่ เปิดป้ายอาคารสำนักงาน งานบวช งานแต่ง จะไม่เป็นมงคลเกิดวิบัติในภายหลัง พึงละเว้น (กุศโลบายนี่น่าจะหมายถึง วันเหล่านี้พระสงฆ์ท่านมีกิจจะต้องกระทำอยู่ในวัดห้ามรบกวน)
2.        นารี 11 ในที่นี่ตัวเลข 11 ก็หมายถึงวันข้างขึ้นข้างแรม 11 ค่ำ เช่นเดียวกัน มิได้หมายถึงจำนวนสตรี 11 นางแต่อย่างใด การทำงานมงคลที่เกี่ยวข้องกับสตรีทุกเภททุกวัย ไม่ควรกระทำในวันนี้ เช่น การบายศรีสู่ขวัญ
3.        สมรส 7 การทำพิธมงคลสมรสก็มีข้อห้ามมิให้กระทำในวันข้างขึ้นหรือข้างแรม 7 ค่ำ โดยเฉพาะถ้าเป็นข้างขึ้น 7 ค่ำ ตรงกับวันศุกร์ห้ามเด็ดขาด
4.        เผาศพ 15 การเผาศพหรือปลงศพ ก็มีข้อห้ามไม่ให้กระทำในวันข้างขึ้นหรือข้างแรม 15 ค่ำ เพราะพระสงฆ์มีกิจต้องกระทำในวันธัมมัสวนะและวันอุโบสถ ยิ่งถ้าไปตรงกับวันศุกร์ 15 ค่ำ โบราณท่านห้ามเด็ดขาดเพราะตรงกับวันปลงพระศพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ครูน้อย  นารายณ์พลิกแผ่นดินเรียบเรียงเป็นวิทยาทาน



 

เพจ Jiraporn Tongkampra

เพจ Jiraporn Tongkampra
แบ่งปันสื่อ ไอเดียสอนลูก ใบงาน ไฟล์แบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้ของลูกน้อย ของเล่นเสริมพัฒนาการ

สำนัก อ.น้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน

สำนัก อ.น้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน
เวบแบ่งปันวิทยาทานและธรรมทาน รวมทั้งสาระหน้ารู้ต่างๆที่ค้นหานำมาแบ่งปัน

ช่องยูทูปครูน้อย

ช่องยูทูปครูน้อย
ติดตามคลิบวีดีโอที่แบ่งปันวิทยาทานและธรรมทานได้อีกช่องทาง