วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อ่านหนังสืออย่างไรให้ใจเกิดสมาธิ

อ่านหนังสืออย่างไรให้ใจเกิดสมาธิ
การอ่านตัวหนังสือนั้นก็สามารถทำให้จิตเกิดเป็นสมาธิได้ ..!
ลักษณะการอ่านหนังสือจะแยกให้เห็นอาการได้สองลักษณะ คือ
๑ อ่านผ่านๆเพื่อให้รู้เนื้อหา อ่านลักษณะนี้จะเป็นการอ่านเพื่อให้รู้เนื้อความบทความนั้นๆ โดยที่เป็นการกวาดสายตาอ่านผ่านๆ และรับรู้เอาเนื้อหาที่สนใจเท่านั้น คนที่อ่านหนังสือลักษณะนี้ จะอ่านหนังสือที่มีข้อความยาวๆไม่จบ หรือเข้าใจเนื้อหาเพียงบางส่วนที่สนใจ เมื่อฝึกทำบ่อยๆก็จะกลายเป็นลักษณะ สมาธิสั้น คือจดจ่อในเนื้อหาได้ไม่นาน อ่านข้อความยาวๆไม่ได้ จะเกิดความเบื่อหน่าย
๒ อ่านด้วยใจจดจ่อเพื่อให้รู้เนื้อหาและเข้าใจในเนื้อความอย่างกระจ่าง อ่านลักษณะนี้จะเป็นการอ่านอย่างใจเย็น อ่านไปทีละคำ ใคร่ครวญในข้อความไปพร้อม ก็จะเกิดทั้งความเข้าใจและอารมณ์ตามเนื้อหานั้นๆ ถ้าอ่านบทความที่เป็นธรรมะใจจะเกิดปิติเกิดความสงบใจขึ้นมา ยิ่งอ่านด้วยใจที่จดจ่อก็ยิ่งเข้าใจเนื้อหา มีความปิติปราโมทย์เกิดขึ้น เกิดความสุขใจ ใจก็ตั่งมั่นเป็นสมาธิขึ้นมาในขณะนั้น
ฉนั้น การอ่านก็สามารถทำให้จิตเกิดสมาธิขึ้นมาได้ ถ้าเข้าใจลักษณะการอ่านที่ถูกต้อง การอ่านบทความต่างๆการอ่านหนังสือเรียน การอ่านธรรมะ หากอ่านตามลักษณะที่สองจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการอ่าน อ่านแล้วเกิดความเข้าใจ อ่านแล้วจดจำเนื้อหาได้แม่นยำ นั้นเพราะการจดจ่อของใจ ทำใจจดจ่ออย่างตั่งใจในการอ่าน พิจจารนาไปตามเนื้อความ ค่อยๆประคับประคองใจให้อยู่ในเนื้อหาข้อความ ไม่ส่อส่ายไปนอกเรื่อง ฝึกทำอย่างนี้ จะทำให้จิตเกิดได้ทั้งสมาธิและปัญญาไปในทีเดียวกัน (ลูกหลายที่ยังเด็กก็ให้สอนเขาทำอย่างนี้ เขาจะมีสมาธิและเรียนหนังสือได้เก่งมาก)
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

เพจ Jiraporn Tongkampra

เพจ Jiraporn Tongkampra
แบ่งปันสื่อ ไอเดียสอนลูก ใบงาน ไฟล์แบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้ของลูกน้อย ของเล่นเสริมพัฒนาการ

สำนัก อ.น้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน

สำนัก อ.น้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน
เวบแบ่งปันวิทยาทานและธรรมทาน รวมทั้งสาระหน้ารู้ต่างๆที่ค้นหานำมาแบ่งปัน

ช่องยูทูปครูน้อย

ช่องยูทูปครูน้อย
ติดตามคลิบวีดีโอที่แบ่งปันวิทยาทานและธรรมทานได้อีกช่องทาง